การยิงจุดโทษอาจเป็นการประตูที่เหมือนง่ายๆ แต่ความจริงกลับไม่ได้เป็นแบบนั้น โดยเฉพาะเมื่อคุณยิงพลาดจนทีมพ่าย มันจะกลายเป็นสิ่งที่แย่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นทันที
ก่อนฟุตบอลโลกที่ กาตาร์ ในปี 2022 มีการดวลจุดโทษชี้ขาดทั้งหมด 30 ครั้ง และเตะกันไปถึง 279 ลูกด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งลูกที่กลายเป็นประตูสำคัญอย่าง ลูกยิงของ ฟาบิโอ กรอสโซ่ ที่พาอิตาลีคว้าแชมป์โลกในปี 2006 หรือลูกที่ยิงไม่เข้า เช่นกรณีของ โรแบร์โต้ บาจโจ้ ทำแฟนบอลอิตาลีหัวใจสลายในนัดชิงปี 1994
ซึ่งในบอลโลกครั้งนี้ มีการดวลจุดโทษชี้ขาด 2 นัด นั่นก็คือเกมที่ ญี่ปุ่น พ่าย โครเอเชีย 3-1 และ เกมที่ สเปน พ่าย โมร็อคโก แบบที่ไม่มีแข้งเลือดกระทิงยิงเข้าแม้แต่ลูกเดียว แม้ว่า หลุยส์ เอ็นริเก้ จะให้ลูกทีมซ้อมคนละ 1,000 ลูก ก่อนมาแข่งขันฟุตบอลโลกหนนี้ก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA จึงขอพาไปพบกับสถิติและตัวเลขการยิงจุดโทษ ที่มีการบักทึกไว้ระหว่างปี 1982 จนถึงปี 2018 ว่าควรทำอยางไรถึงเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการทำประตูจากลูกตั้งเตะในกรอบ 18 หลา โดยอ้างอิงจาก Opta เว็บไซต์บันทึกสถิติด้านกีฬาระดับโลก
การเลือกฝั่งยิง
โอกาสที่นักเตะจะยิงประตูจากจุดโทษจะเพิ่มขึ้น หากเลือกยิงไปทางขวาหรือซ้าย แต่พยายามหลีกเลี่ยงการยิงตรงกลางประตู
การเลือกไปทางขวา มีเปอร์เซ็นต์เป็นประตูถึง 74% ขณะที่ฝั่งซ้ายก็มีตัวเลขเท่ากัน ทว่าการเลือกยิงกลางประตูกลับเหลือแค่ 57% ซึ่งเป็นประตูเพียง 36 จากทั้งหมด 63 ครั้ง
ด้านผู้รักษาประตูก็โอกาสเซฟประตูคล้ายๆกัน ไม่ว่าจะเซฟจุดโทษจากฝั่งไหน (21%) แต่ก็มีโอกาสที่จะพลาดการยิงจากตรงกลางมากกว่า
มี 11% ที่ยิงจุดโทษจากตรงกลางไปชนเสาชนคาน และอีก 11% ก็ยิงหลุดกรอบไป ขณะที่ตัวเลือกยิงไปด้านซ้ายและขวา มีตัวเลขพลาดที่ลดลง 3% และ 1% ตามลำดับ
และที่สำคัญการยิงลูกโด่งโดยปกติมักดีกว่าลูกเรียดด้วย
การยิงลูกโทษคนแรก
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักเตะที่ยิงจุดโทษได้ดีที่สุดจะเป็นคนแรกที่ยิงก่อนเพื่อน (ยกเว้นคุณคือ คริสเตียโน่ โรนัลโด้)
อัตราการเปลี่ยนเป็นประตูสำหรับ 3 คนแรกที่ซัดจุดโทษของแต่ละทีมอยู่ที่ 75%, 73% และ 73% ตามลำดับ ส่วนคนที่ 4 จะเหลือเพียง 64% และคนที่ 5 อยู่ที่ 65%
แต่ก็น่าตกใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่ต้องดวลจุดโทษด้วยกฎซัดเด้น เดธ ซึ่งมีอัตราการเป็นประตูเพียง 50% เท่านั้นจากการยิง 4 ลูก
เมื่อแบ่งคนยิงของทั้ง 2 ทีมเป็นลำดับ 1-10 คนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือคนยิงอันดับที่ 2 และ 5 ซึ่งคิดเป็น 77% ต่อคน ขณะที่คนที่ 8 มีอัตราที่แย่ที่สุดจาก 10 แรก ซึ่งมีเพียง 61%
อย่างไรก็ตาม ทีมไหนเป็นคนได้เตะจุดโทษก่อนก็ไม่สำคัญ เพราะทีมที่ยิงฝ่ายแรก และทีมที่ยิงตามหลัง ก็เอาชนะไปได้ฝั่งละ 15 ครั้งเท่ากัน
ใช้กองหน้าดีกว่า
กองกลางถือเป็นตำแหน่งที่มีส่วนร่วมจุดโทษมากที่สุดในฟุตบอลโลก ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรนัก โดยเฉพาะในยุคที่ระบบ 4-4-2 เป็นแผนยอดนิยม และมีกองกลางมากกว่ากองหน้า
ทว่าบรรดากองหน้าต่างหากที่เป็นนักเตะที่ซัดจุดโทษได้เข้าเป้าที่สุด โดยเป็นประตูถึง 63 จาก 84 ครั้ง (75%) ขณะที่ กองกลางกว่า 122 ชีวิต มีเพียง 84 ครั้งที่เป็นประตู (69%) ส่วนกองหลังก็ดร็อปลงมาเล็กน้อย 49 ประตูจาก 73 ครั้ง (67%)
เรียนรู้จากเยอรมัน (หรืออาร์เจนติน่า)
ถึงเป็นเรื่องที่ได้ยินมาจนชินหู แต่ เยอรมัน คือชาติที่ยิงจุดโทษได้ดีที่สุดในฟุตบอลโลก แม้ในกาตาร์ พวกเขาจะร่วงรอบแบ่งกลุ่ม 2 หนติดก็ตาม โดยเอาชนะได้ทั้งหมด 4 ครั้ง ทั้งเกมพบ ฝรั่งเศส (1982), เม็กซิโก (1986), อังกฤษ (1990) และ อาร์เจนติน่า (2006)
พลพรรค ‘อินทรีเหล็ก’ ยิงเข้าไป 17 จาก 18 ครั้ง โดยมีเพียง อูลี่ สติลีเก้อ เท่านั้นที่พลาดกับการดวลจุดโทษชี้ขาดหนแรกในเวิลด์คัพ ระหว่างเกมที่ เยอรมันตะวันตก พบ ฝรั่งเศส
ถึงในตอนนี้หลายทีมไม่ควรเลียนแบบเนื่องจาก เยอรมันตกรอบไปแล้ว แต่อย่างน้อยก็ควรทำตาม อาร์เจนติน่า เพราะพวกเขาคือชาติที่ซัดจุดโทษเป็นประตูเท่ากับ เยอรมัน ที่ 17 ลูก จากทั้งหมด 22 ครั้ง และเอาชนะได้ถึง 4 จาก 5 ครั้ง ซึ่งครั้งเดียวที่แพ้ก็คือเกมพ่าย เยอรมัน นั่นแหละ
ทั้งนี้มี 3 ทีมที่มีสถิติกดจุดโทษชี้ขาดได้ 100% ไม่มีพลาด นั่นก็คือ เบลเยี่ยม, เกาหลีใต้ และ ปารากวัย (5 ครั้งเข้าทั้งหมด)
อย่าเป็นแบบอังกฤษ (หรือสเปน)
ก่อนฟุตบอลโลกที่ กาตาร์ จะเริ่มขึ้น อังกฤษ เป็นชาติที่พลาดช่วงการดวลจุดโทษชี้ขาดมากที่สุดในฟุตบอลโลก โดยพลาดถึง 8 ลูกจาก 19 ครั้ง
ทีมของ แกเร็ธ เซาธ์เกต เอาชนะ โคลอมเบีย ได้ในบอลโลกปี 2018 ถือเป็นชัยชนะครั้งแรกของพวกเขาในการดวลจุดโทษชี้ขาด
แต่การพ่ายถึง 3 ครั้งของ ‘สิงโตคำราม’ ทำให้พวกเขาครองสถิตินี้เท่ากับ สเปน และ อิตาลี ที่ชนะครั้งเดียว และแพ้ถึง 3 ครั้งเท่ากัน ก่อนที่ทัพ ‘กระทิงดุ’ จะครองสถิตินี้โดดๆ 4 ครั้ง หลังพ่ายจุดโทษ โมร็อคโก ในเวิลด์คัพที่ กาตาร์
ขณะที่ สวิตเซอร์แลนด์ ก็เป็นอีกชาติที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างในฟุตบอลโลกเช่นกัน หลังพวกเขายิงไม่เข้าเลยทั้ง 3 ลูกในพบกับ ยูเครน เมื่อปี 2006 และเป็นทีมเดียวที่ซัดจุดโทษไม่เข้าในช่วงชี้ขาด ก่อนที่ สเปน จะตามรอย ในปีนี้
ยิงเท้าขวา
ถึงไม่ได้เป็นตัวเลขที่แตกต่างกันมากมายนัก แต่การกดจุดโทษด้วยเท้าขวา เป็นประตูถึง 71% มากกว่า เท้าซ้าย ที่เหลือแค่ 68%
อย่างไรก็ตาม การยิงด้วยเท้าขวา ก็ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เพราะมีจำนวนถึง 223 ครั้ง ห่างจากการยิงด้วยเท้าซ้ายที่มีเพียง 56 ลูกเท่านั้น
แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีใครที่ยิงลูกโทษด้วยหัวของตัวเองหรอกนะ
อย่าเปลี่ยนตัวช่วงท้าย (ยกเว้นเป็นนายทวาร)
บางครั้งเราอาจได้เห็นหลายๆทีมเลือกเปลี่ยนตัวผู้เล่นในช่วงท้ายเกมเพื่อลงมายิงลูกโทษโดยเฉพาะ
เป็นเรื่องยากที่จะพิจารณาว่าใครลงมาเพื่อจุดโทษเท่านั้น แต่ในบรรดาผู้เล่นที่ลงมาในช่วงต่อเวลาพิเศษครึ่งหลังและได้ยิงจุดโทษนั้นมีเพียง 5 ใน 8 คน (63%) ที่ทำประตูได้
ในบรรดาผู้ที่จะลงเล่นในช่วง 10 นาทีสุดท้าย ยิงเข้าเพียง 2 จาก 3 คน (67%) ส่วนช่วง 5 นาทีสุดท้าย ยิงเข้าเพียง 1 จาก 2 คน (50%)
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ เจมี่ คาร์ราเกอร์ ที่ลงมาแทน อารอน เลนน่อน ในนาทีที่ 118 ที่ อังกฤษ พบ กับ โปรตุเกส ในฟุตบอลโลกปี 2006 รอบ 8 ทีมสุดท้าย
คาร์ร่า ยิงเข้าไป แต่ก็ต้องกลับมายิงใหม่ เนื่องจากยิงก่อนผู้ตัดสินเป่านกหวีด ก่อนที่ ริคาร์โด้ จะเซฟจุดโทษของ อดีตดาวเตะ ลิเวอร์พูล ได้ และกลายเป็นนายทวารอีกคนที่เซฟ 3 จุดโทษช่วงชี้ขาด
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนตัวที่ดีที่สุดสำหรับการดวลจุดโทษที่เคยเกิดขึ้นในฟุตบอลโลก คงหนีไม่พ้นเคสของ ทิม ครูล นายด่านทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ในเกมพบ คอสตาริก้า เมื่อเวิลด์คัพปี 2014 รอบ 8 ทีมสุดท้าย
ครูล ถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนที่ แยสเปอร์ ซิลเลสเซ่น ในนาทีที่ 121 ก่อนที่อดีตนายทวารของ นิวคาสเซิ่ล จะเซฟจุดโทษ 2 ลูกช่วยให้ ‘อัศวินสีส้ม’ ผ่านไปเล่นรอบตัดเชือกได้สำเร็จ
ว่าแต่จะมีชาติไหนใช้สูตรเดียวกันนี้ในฟุตบอลโลกที่กาตาร์บ้าง?