เวิล์ด ไวด์ เว็บ ได้ถือกำเนิดและอาศัยอยู่บนโลกใบนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว หลังจากที่ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลีได้ขึ้นค้นระบบการจัดการข้อมูลแบบใหม่ในเดือนมีนาคมปี 1989 ซึ่ง ณ ตอนนั้นคงไม่มีใครคาดดิดว่าสิ่งนี้จะส่งผลกับเราอย่างไรในอนาคต รวมถึงคอบอลด้วยเช่นกัน
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผลงานชิ้นโบว์แดงของทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี ได้ส่งกระทบต่อสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลและเชื่อมต่อข้อมูลทุกอย่างบนโลกใบนี้ผ่านอินเตอร์เน็ตและโซเชียล มีเดีย มากกว่าไปกว่านั้น ทำให้วิธีชีวิตของคนบนโลกเปลี่ยนไปอย่างช่วยไม่ได้ เช่นด้วยวิธีการรับชมกีฬาฟุตบอลแบบดั้งเดิมด้วย
และ UFA ARENA จะพาย้อนไปพบกับ 6 วิธีที่เหล่าแฟนบอลทั่วโลกเข้าถึงฟุตบอลก่อนยุคอินเตอร์เน็ตครองเมือง
ติดตามผลสกอร์ผ่าน ซีแฟกซ์
ในวันนี้ หากคอบอลอย่างคุณต้องการทราบผลสกอร์แบบด่วนจี้ไปรษณีย์จ๋า ก็แค่พิมพ์ชื่อทีมที่คุณต้องการทราบลงไปในเว็บเบราเซอร์ เพียงไม่กี่วินาทีคุณก็จะได้ผลการแข่งขันเด้งขึ้นมาอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน หรือ แท็ปเลต ทันที อีกทั้งแอฟพลิเคชั่นเกี่ยวกับฟุตบอลก็มีระบบแจ้งเตือน หากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในเกมการแข่งขันที่เราสงสัยใคร่รู้
แต่ในปี 1989 ไม่ได้ง่ายแบบนี้เลย หากแฟนบอลอยากรู้ว่าผลสกอร์เป็นอย่างไร คุณจะต้องพึ่งพากับ ซีแฟกซ์ และ เทเลเทกซ์ที่เป็นเหมือนหนังสือพิมพ์บนทีวีในยุคนั้นแทน ซึ่งพูดแบบหยาบๆนี่ก็คือเว็บเพจเวอร์ชั่นเริ่มต้นที่คนทั่วไปสามารถดูได้ผ่านโทรทัศน์ แน่นอนว่ามันอาจเป็นการเผยแพร่ข่าวสารที่รวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์ปกติทั่วไป แต่ใช่ว่าผลการแข่งขันจะปรากฏบนจอแก้วตลอดเวลาซะเมื่อไหร่ หากต้องการรู้สกอร์จริงๆก็ทำได้แค่นั่งรอจนถึงเวลาที่เหมาะเจาะเท่านั้น ก่อนจะค่อยๆได้รับความนิยมน้อยลงเมื่อมีระบบเครือข่ายสื่อสารอื่นๆ เข้ามา เช่น การส่ง SMS หรือ อินเตอร์เน็ต
วิทยุคู่ใจในสนามแข่ง
สนามฟุตบอลในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยสมาร์ทโฟนของแฟนบอล ซึ่งพวกเขาสามารถรับรู้ว่าการแข่งขันเป็นเช่นไรพร้อมๆกับเกมในสนามอื่นๆ, สามารถดูผลอันดับแบบเรียลไทม์ของทีมคู่อริที่เราเกลียดนักเกลียดหนา รวมทั้งสามารถเห็นภาพและวิดีโอเหตุการณ์ที่มีแมวบุกเข้าสนาม กูดิสัน ปาร์ค บน ยูทูป ได้ทั้งๆที่การแข่งขันยังไม่เสร็จสิ้นด้วยซ้ำ
ย้อนกลับไปในยุคนั้น ภาพที่แฟนบอลบางคนจะพกวิทยุทรานซิสเตอร์เข้าไปในสนามฟุตบอลจนชินตา เพื่อที่พวกเขาจะได้เป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูลข่าวสารของทีมอื่นๆที่แข่งขันในเวลาเดียวกันให้กับคนอื่นๆในสนามได้รับทราบ
โดยการประกาศผลสกอร์นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงพักครึ่งของเกมการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นช่วงที่แฟนบอลบริเวณนั้นจะตั้งใจฟังอย่างใจจดใจจ่อ และดีใจแทบเป็นบ้าเป็นหลังเมื่อรู้ว่าทีมคู่แข่งลุ้นแชมป์ในลีกพลาดท่าแพ้ให้กับอีกทีม รวมถึงโอดครวญไปทั่วสนามเมื่อรู้ว่าคู่แข่งคว้าชัยชนะมาได้
ดูบอลผ่านหน้าต่างร้านค้า
เมื่อเราบอกว่า “ดูบอลผ่านหน้าต่างร้านค้า” แฟนบอลยุคใหม่อาจจะนึกภาพไม่ออกมาลักษณะเป็นเช่นไร แต่มันคือสิ่งผู้คนในสมัยนั้นปฏิบัติตามกันอย่างแพร่หลายเพื่อจะชมเกมลูกหนังที่พวกเขาชื่นชอบแบบสดๆ
ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าใครก็ตามที่บังเอิญต้องไปทำธุระหรือซื้อของซึ่งคาบเกี่ยวหรือตรงกับช่วงเวลาเริ่มเกมคู่บิ๊กแม็ตช์ประจำสัปดาห์ สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะคุณสามารถชมเกมสดผ่านสมาร์ทโฟนได้ในทันที รวมถึงการเลือกฟังเกมการแข่งขันผ่านวิทยุออนไลน์ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สะดวกไม่แพ้กัน
แต่ว่าในยุคนั้น คุณกลับต้องท่าทางลับๆล่อๆ ตามถนนเส้นหลักในเมืองเพื่อสอดส่องดูว่ามีร้านขายโทรทัศน์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่แถวๆนั้นหรือไม่ เพื่อชมเกมคู่สำคัญที่ร้านค้ามักจะเปิดบนโทรทัศน์ที่พวกเขาจัดจำหน่าย แม้ว่าทางร้านจะเปิดให้ชมเกมการแข่งขันแค่ไม่กี่นาทีก็ตาม
แฟนตาซี ฟุตบอล ต้องใช้ไปรษณีย์
ทุกวันนี้ คอบอลแทบไม่ต้องลุกจากเตียงเลยก็ได้ หากต้องการจัดทีมแฟนตาซีประจำสัปดาห์ของคุณ ก่อนเส้นตายในคืนวันเสาร์ หรือต่อให้คุณยังมีอาการเมาค้างอยู่ก็สามารถไถสมาร์ทโฟนของคุณเพื่อเปลี่ยนตัว เควิน เดอ บรอยน์ ออกจาก 11 ตัวจริงของคุณในสัปดาห์นี้ได้ก่อนที่คุณได้ลิ้มรสากแฟยามเช้าของวันด้วยซ้ำไป
หากย้อนไปในยุคก่อนแฟนบอลรุ่นใหม่คงต้องยอมคารวะให้กับความพยายามของแฟนบอลยุค 70, 80 จริงๆ เพราะกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนทีมแฟนตาซีครั้งนึงต้องวางแผนล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี โดยพึ่งระบบไปรษณีย์เป็นหลักและเขียนผู้เล่นที่ต้องการเปลี่ยนแปลงลงไปในกระดาษเปล่าๆและนำไปหยอดลงบนตู้ไปรษณีย์เมื่อมีเวลาว่าง แถมยังต้องพะวงเรื่องความล่าช้าในการจัดส่งอีกด้วย และสิ่งที่สำคัญที่สุดพวกเขาจะไม่มีทางรู้แต้มของทีมได้เลยจนกว่าจะได้รับหนังสือพิมพ์ของเช้าวันจันทร์
เชียร์ทีมที่ไม่หลากหลาย
ในสมัยก่อน คุณอาจจะมีทีมเชียร์อีกทีมโดยมาจากเพื่อนบ้านที่มักจะพูดถึงบ่อยๆตอนคุณเป็นเด็ก หรือบางทีอาจจะเป็นทีมที่พ่อแม่ของคุณเชียร์มาตั้งแต่ตอนที่พวกเขายังเป็นเด็ก ซึ่งเรื่องเหล่านั้นถือเป็นเหตุผลที่ปกติและไม่ได้พิศดารอะไรมากนัก
แต่สำหรับแฟนบอลยุค 2019 พวกเขามีทีมที่ตัวเองตามมากกว่า 1 ทีมเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในพรีเมียร์ลีก, บุนเดสลีก้า, ลาลีก้า หรือ เซเรียอา หรือแม้กระทั่งสโมสรจากนอกทวีปบ้านเกิดตัวเองก็ตาม โดยขึ้นอยู่กับระดับความเท่หรือชื่อเสียงของทีมเหล่านั้นเป็นส่วนใหญ่
ทุกวันนี้คอบอลวัยหนุ่มหรือวัยเก๋าสามารถเลือกติดตามที่ตัวเองชื่นชอบโดยไม่มีเงื่อนไขด้านพรมแดมหรือภาษามาขว้างกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคลิปสัมภาษณ์นักเตะหรือทวิตเตอร์ตลกๆของสโมสรก็เข้าถึงได้อย่างไม่มีปัญหา
ไม่มีมีมล้อเลียน
รู้หรือไม่ว่าคำว่า ‘มีม’ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในหนังสือของริชาร์ด ดอว์กินส์ ที่มีชื่อว่า The Selfish Gene ในปี 1976 ซึ่งปัจจุบันคำนี้มีความหมายแบบเข้าใจง่ายว่า มุกล้อเลียนขำขันที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์
ในโลกยุคก่อนอินเตอร์เน็ต คุณทำได้แค่ล้อเลียนเพื่อนของคุณซึ่งๆหน้าเท่านั้น ไม่สามารถแท็กชื่อเพื่อนผ่านโพสต์แขวะทีมรักของเขาในเฟสบุ๊ค หรือส่งภาพตัดต่อล้อเลียนของนักบอลคนใดคนหนึ่งหรือส่งใบหน้าชวนหัวเราะของผู้เล่นบางคน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครนึกถึงเช่นกันในตอนนั้น
แต่ปัจจุบัน แค่เรื่องการให้สัมภาษณ์เล็กๆน้อยๆหลังเกม หรือเหตุการณ์ประหลาดะหว่างการแข่งขันก็สามารถกลายเป็นข่าวโด่งดังในชั่วข้ามคืน หากเรื่องนั้นมีประเด็นบางอย่างที่ไปกระตุ้นต่อมของแฟนบอลทั่วโลก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมีอินเตอร์เน็ตช่วยให้การชมเกมหรือพูดคุยเกี่ยวกับเกมลูกหนังนั้นสนุกสนานขึ้นเป็นเท่าตัว และเราทุกคนล้วนเป็นหนี้สิ่งนี้จริงๆ