กลายเป็นข่าวใหญ่สุดๆในช่วงที่ผ่านมา หลัง พรีเมียร์ลีก ตั้งข้อหา แมนเชสเตอร์ ซิตี้ โทษฐานละเมิดกฎการเงินมากกว่า 100 ครั้ง ระหว่างปี 2009-2018 หลังสอบสวนมาตลอด 4 ปี
พรีเมียร์ลีกได้ระบุว่า ‘เรือใบสีฟ้า’ ได้ทำการละเมิดกฎการเงิน หรือ ไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์ มากกว่า 100 ครั้ง ระหว่างเดือนกันยายนปี 2009 ถึงช่วงจบฤดูกาล 2017-2018 ในช่วงที่ ชีค มานซูร์ เข้ามาอัดฉีดเงินทุนเพื่อยกระดับทีมทั้งใน และไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวน ระหว่างปี 2018-23 พร้อมทั้งปกปิดแหล่งรายได้ที่แท้จริง
โดยลีกได้ส่งข้อกล่าวหาดังกล่าวไปยังคณะกรรมการอิสระในการพิจารณาไต่สวน หลังจากที่ได้มีการสอบสวนมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2018 และ หากสุดท้ายแล้วคณะกรรมการอิสระตัดสินออกมาว่า แมนฯซิตี้ ทำผิดจริงตามที่ พรีเมียร์ลีก ระบุ พวกเขาก็มีสิทธิ์ได้รับโทษไม่ว่าจะหนักหรือเบาตามแต่ที่จะมีการพิจารณา
ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA จึงขอพาไปพบกับ 5 บทลงโทษที่ ทีมสีฟ้าจากแมนเชสเตอร์ อาจโดนหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงฐานละเมิดกฎการเงิน
ตัดแต้ม
นี่น่าจะเป็นบทลงโทษที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดหาก แมนฯซิตี้ มีความผิดจริง พวกเขาจะถูกลงโทษด้วยการหักแต้มเช่นเดียวกับ ยูเวนตุส ที่เมื่อไม่นานมานี้ได้รับโทษเป็นการหักแต้ม 15 แต้มหลังมีการสอบสวนพบว่าพวกเขาก่อความผิดในอดีตกับการซื้อขายนักเตะ
แม้ว่าจำนวนแต้มที่จะถูกหักอาจยังไม่มีใครรู้ได้ แต่ไม่ว่า ‘เรือใบสีฟ้า’ จะถูกหักกี่แต้ม เรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่ออันดับตารางใน พรีเมียร์ลีก ของพวกเขาอย่างแน่นอน
ขณะนี้ ทีมของ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า รั้งตำแหน่งรองจ่าฝูงโดยมีแต้มตามหลัง อาร์เซน่อล ทีมจ่าฝูงห้าแต้ม และหากมีโดนตัด 15 แต้ม พวกเขาก็จะหล่นไปอยู่อันดับเก้าของตาราง หรือหากมีการพิจารณาหักแต้มมากกว่านี้ แมนฯ ซิตี้ ก็อาจหล่นไปอยู่ในโซนตกชั้นได้
มองดูแล้ว การหักแต้มน่าจะเป็นบทลงโทษที่มีน้ำหนักมากที่สุด แต่ก็เชื่อว่า ซิตี้ จะอาศัยช่องทางของกฏหมายท้าทายบทลงโทษจากคณะกรรมการเช่นกัน
ห้ามแข่งขัน
ตามกฏข้อที่ W51 ของ พรีเมียร์ลีก แมนฯซิตี้ อาจได้รับโทษในขั้นต้นด้วยการห้ามลงแข่งขัน แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน แต่แน่นอนว่ามันเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เปิดกว้างให้กับผู้ถือกฏ
“คณะกรรมการอาจสั่งแบนทีมนั้นๆลงแข่งขันในเกมลีกหรือรายการอื่นๆได้ และเป็นไปในระยะเวลาที่พวกเขาคิดว่าเหมาะสม” กฏกติกาข้อดังกล่าวบัญญัติเอาไว้
ขับออกจากลีก
หนึ่งในโทษสถานหนักคือการขับพ้นจากลีก ทว่าถึงพรีเมียร์ลีก มีอำนาจในการทำแบบนั้น แต่มันก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นจริง
หรือหากว่ามันเกิดขึ้นก็ไม่ชัดเจนอยู่ดีว่าแชมป์พรีเมียร์ลีก จะต้องหล่นไปเล่นระดับไหน แต่นั่นจะก่อให้เกิดความยุ่งยากและกระทบต่อโครงสร้างของลีกที่มีจำนวนสโมสรมากมายอยู่แล้วเช่นกัน
หรือไม่เช่นนั้น พวกเขาก็อาจหล่นไปเล่นนอกลีกใน เนชั่นแนล ลีก เหมือนที่ คิวพีอาร์ เคยโดนแจ้งโทษเมื่อปี 2014 หากไม่ยอมจ่ายค่าปรับ 40 ล้านปอนด์สมัยเล่นอยู่ใน แชมเปี้ยนชิพ และละเมิดกฏการใช้จ่าย
ริบแชมป์
แม้ว่ากฏข้อ W51 จะไม่ได้รวมการริบแชมป์เอาไว้ด้วยสำหรับบทลงโทษ แต่มันยังเปิดช่องให้มีบทลงโทษที่หลากหลายตามมาจากการละเมิดกฏกติกา เพราะกฏข้อ W.51.10 ระบุเอาไว้ว่าคณะกรรมการสามารถ “ลงโทษเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม” ซึ่งรวมทั้งการริบแชมป์จากสโมสรที่ได้แชมป์
แมนฯซิตี้ พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นทีมชั้นยอดจากการคว้าแชมป์ลีกได้สามสมัยระหว่างปี 2009-2018 ซึ่งพวกเขาถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฏการใช้เงิน และแน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่พวกเขาจะได้รับบทลงโทษนี้
หากซิตี้ถูกปลดออกจากตำแหน่งแชมป์พรีเมียร์ลีกทั้ง 2 ฤดูกาลข้างต้น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดและ ลิเวอร์พูล จะเป็นผู้ชนะในฤดูกาลนั้นๆแทน แต่อันที่จริง ฤดูกาลเหล่านั้นจะไม่มีการรับรองผู้ชนะ หากพรีเมียร์ลีกตัดสินว่าซิตี้คว้าแชมป์โดยละเมิดกฎ
แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอังกฤษ แต่อิตาลีก็เคยมีมาก่อนสำหรับทีมที่ริบจากตำแหน่ง หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวกับคดีกัลโช่โปลีในช่วงกลางปี 2000 โดย เซเรีย อา ทำการริบแชมป์ของ ยูเวนตุส ในฤดูกาล 2004-05 และ 2005-06 ก่อนจะปรับให้ตกชั้นไปอยู่เซเรียบี
ปรับเงิน
บทลงโทษอีกอย่างที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากที่สุดคือ การปรับเงินนั่นเอง
โดย กฏข้อ W.51.9 ระบุไว้ว่าคณะกรรมการสามารถ “สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าปรับจำนวนหนึ่งได้หากพวกเขาคิดว่าเหมาะสมซึ่งอาจรวมถึงค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายของสมาชิกคณะกรรมการด้วย”
เพราะฉะนั้น ซิตี้ จึงมีโอกาสได้รับโทษปรับเงินหากสุดท้ายแล้วมีการพิสูจน์ได้ว่าพวกเขากระทำผิดจริง ซึ่งดูๆแล้วพวกเขาก็ไม่น่าจะมีปัญหากับบทลงโทษนี้เช่นกัน เพราะทีมระดับนี้ยังไงก็จ่ายไหวแน่นอน