กระเพาะหมูสู่การฝั่งชิพ : ลูกบอลกับวิวัฒนาการอันไม่หยุดนิ่ง

กระเพาะหมูสู่การฝั่งชิพ : ลูกบอลกับวิวัฒนาการอันไม่หยุดนิ่ง

ฟุตบอลเป็นหนึ่งในกีฬาที่มีผู้ติดตามชมมากที่สุดในโลก หลายคนยกให้นี่เป็นกีฬาที่มีเสน่ห์มากที่สุด, มีมูลค่ามากที่สุด และเต็มไปด้วยความบันเทิงที่ไม่มีสิ้นสุด

ในขณะที่วงการลูกหนังเดินหน้าพัฒนาไปแบบไม่หยุดนิ่ง ทั้งด้านแทคติก, รูปแบบการเล่น, ระบบการแข่งขัน, การซื้อขายนักเตะ, วิทยาศาสตร์การกีฬาต่างๆ หรือแม้กระทั่ง ลูกฟุตบอลที่ใช้เตะกันสนาม ก็มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดไม่แพ้กัน

หลายท่านอาจจดจำลูกฟุตบอลที่มีลวดลายจุดขาว-ดำ หรือลายรูปดาวที่ใช้ในศึกแชมเปี้ยนส์ลีก แต่รู้หรือไม่ว่า ฟุตบอลลูกแรกของโลกถูกผลิตขึ้นมาเป็นทางการครั้งแรกเมื่อ 186 ปีก่อน และไม่มีรูปลักษณ์สวยงามอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ด้วยซ้ำ

ทาง UFA ARENA จะพาทุกท่านไปย้อนดูวิวัฒนาการของลูกบอลตั้งแต่ยุคที่มีการผลิตออกมาครั้งแรกจนถึงยุคปัจจุบัน

 

ลูกบอลลูกแรก

Soccer Ball History -

จากบันทึกในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ ประเทศต่างๆมักอ้าวว่าชาติของตนเป็นผู้คิดค้นกีฬาฟุตบอลขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น จีน, อียิปต์, โรมัน, หรือประเทศในแถบอเมริกาใต้ที่ใช้หัวมนุษย์เย็บติดกับผ้า, กระเพาะปัสสาวะสัตว์และหัวกระโหลก ก่อนที่ยุคกลางจะใช้หนังคลุมกระเพาะปัสสาวะเพื่อทำให้บอลมีรูปร่างที่ดีขึ้น

แต่กว่าฟุตบอลจะมีรูปลักษณ์อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นจริงๆในช่วงศตวรรษที่ 19 จากชายที่มีชื่อว่า ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ เจ้าของบริษัท Goodyear ผู้ผลิตยางรถยนต์ประเภทต่างๆ จากสหรัฐอเมริกา ที่จดสิทธิบัตรการทำให้ยางคงรูปในปี 1836 และนำยางมาผลิตเป็นลูกฟุตบอลสมัยใหม่อย่างเป็นทางการในปี 1855

ก่อนหน้านั้นกระเพาะหมูถูกใช้ในทำฟุตบอล ซึ่งทำให้บอลเด้งหรือกระดอนไปในทิศทางที่คาดเดาได้ยาก จากนั้นก็มีการใช้กระเพาะวัวเข้ามาผลิตบอลด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา การใช้ยางผลิตลูกฟุตบอลก็กลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป

 

ความต้องการที่มากขึ้น

The Evolution Of The Beautiful Game

ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน สมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ เอฟเอ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1863 แต่ต้องใช้เวลากว่า 9 ปี จึงจะสามารถกำหนดขนาดและน้ำหนักของฟุตบอลได้

ในปี 1872 มีการระบุว่าลูกฟุตบอลจะต้องเป็นทรงกลม มีขนาดเส้นรอบวงอย่างน้อย 27 นิ้ว หรือสูงสุด 28 นิ้วและน้ำหนักสามารถมีอย่างน้อย 13 ปอนด์หรือสูงสุด 15 ปอนด์ 

อย่างไรก็ตามน้ำหนักของลูกบอลถูกแก้ไขในปี 1936 เป็นอย่างน้อย 14 ปอนด์และสูงสุด 16 ปอนด์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้ในน้ำหนักใกล้เคียงกับเมื่อ 85 ปีก่อน เพียงวัสดุต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก เช่นเดียวกับลวดลายต่างของบอลด้วย

จากนั้นเมื่อการแข่งขันลีกในแดนผู้ดีถือกำเนิดขึ้นในปี 1888 ก็มีการผลิตลูกฟุตบอลมากขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยมี Mitre และ Thomlinson เป็น 2 เจ้าใหญ่ที่ผลิตลูกฟุตบอลออกมามายในช่วงนั้น 

 

บอลยุคแรกของศตวรรษที่ 20

Nat. Football Museum on Twitter: "Two balls, one final. ⚽⚽ At the 1930  @FIFAWorldCup Final, neither side could agree on who should supply the  match ball - so FIFA insisted on playing

ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ฟุตบอลที่เริ่มใช้ยางในการผลิตมีลักษณะที่ทนทาน สามารถคงรูปได้นาน และแรงอัดหรือกดดันหนักๆได้ดี มีการใช้หนังหุ้มยางในที่ช่วยปรับปรุงการเด้งหรือฟิกส์ของลูกบอล และมักจะหนังสีน้ำตาลเย็บติดกันจำนวน 18 ชิ้น แบ่งเป็น 6 ส่วน

แต้ด้วยวัสดุที่ใช้ทำให้บอลมีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกทำให้ผู้เล่นบาดเจ็บขณะโหม่งบอล อีกทั้งบอลยังมีการลดขนาดระหว่างเกมด้วย

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 1930 ระหว่าง อาร์เจนติน่า และ อุรุกวัย ที่ต่างฝ่ายต่างต้องการใช้ลูกฟุตบอลของตัวเอง นั่นก็คือ Tiento และ T-Model จนท้ายที่สุดก็ตกลงกันที่แบ่งกันลูกละครึ่งเกมในนัดชิงปีนั้น

ทีมฟ่าขาวเป็นฝ่ายใช้ลูกฟุตบอลของตัวเองก่อนซึ่งนำไป 2-1 ในครึ่งแรก แต่ อุรุกวัย ที่ใช้บอลของตัวในครึ่งหลังก็พลิกแซงเอาชนะไปได้ 4-2 ด้วยเหตุนี้เองทำให้  สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ตัดสินให้ใช้ลูกฟุตบอลแบบเดียวสำหรับการแข่งขันในอนาคต

ต่อมาในยุค 1940 ลูกฟุตบอลมีการใช้ผ้าร่วมกับยางและหนังในการผลิตเพื่อทำให้ลูกง่ายต่อการควบคุมมากขึ้น รวมถึงมีการใช้หนังเคลือบกับวัสดุอื่นๆให้ไม่มีช่องว่างระหว่างหนัง เพื่อใช้ป้องกันการรั่วซึม 

ในยุคระหว่างปี 1950 ถึงต้นปี 1960 จะใช้วัสดุอื่นๆเพื่อลดการซึมซับน้ำ มีการอนุญาตให้ใช้บอลสีขาวส้ม เพื่อทำให้ผู้ชมในสนามมองเห็นขณะที่แข่งขันในตอนดึกหรือเวลาที่มีหิมะตก รวมถึงบอลสูบลมแบบที่ใช้กันในปัจจุบันก็เริ่มต้นจากยุคนี้เช่นกัน

 

เทลสตาร์ที่เราคุ้นเคย

The adidas Telstar begins ball chain

เมื่อเข้าสู่ปลายยุค 70 ลูกฟุตบอลได้มีการเปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่อีกครั้ง เมื่อแนวคิดของ ริชาร์ด บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ สถาปนิกชาวอเมริกัน ที่สร้างอาคารโดยใช้วัสดุน้อยชิ้น นำไปสู่การผลิต บัคมินสเตอร์ บอล หรือที่ฟุตบอลลายจุดขาวดำที่เราๆคุ้นเคยในชื่อ เทลสตาร์ 

อาดิดาส ผู้ผลิตบอลนี้ ได้ใช้วัตถุดิบแบบใหม่ ไม่ใช่ลูกยางแบบเก่า แต่เป็นหนังเย็บติดกัน 32 ชิ้น แบ่งเป็นสีดำที่เป็นห้าเหลี่ยม 12 ชิ้น และ สีขาวหกเหลี่ยมอีก 20 ชิ้น ทำให้บอลมีระบบฟิสิกส์ที่ดี มีการควบคุมที่ง่ายขึ้น จนกลายเป็นฟุตบอลลายมาตรฐานทีปัจจุบันก็ยังให้เห็นอยู่ทั่วไป

เทลสตาร์ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในศึกยูโรปี 1968 ก่อนที่ฟีฟ่าจะให้ ค่ายกีฬายักษ์ใหญ่จากเยอรมันเป็นผู้ผลิตลูกบอลแข่งขันให้กับฟุตบอลโลกอย่างเป็นทางการในปี 1970 และลากยาวจนถึงปัจจุบัน

ส่วนสาเหตุที่ใช้สีขาวดำเป็นเพราะในปีนั้นเป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลโลกถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เพื่อทำให้ผู้ชมสามารถเห็นบอลที่กลิ้งผ่านสนามแข่งได้ชัดเจนนั่นเอง

 

ดีไซน์สุดแหวกในยุคโมเดิร์น

Adidas Fevernova - Wikipedia

หลังจากนั้นฟุตบอลก็มีพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งการใช้หนังสังเคราะห์แทนหนังแท้ในปี 1986 ที่สามารถคืนทรงได้รวดเร็วกว่าหนังแท้ รวมถึงคุณภาพกันน้ำที่สูงกว่า แต่ในปี 1998 ลวดลายของฟุตบอลไม่ได้หยุดอยู่ที่ขาวหรือดำอีกต่อไป

Tricolore ถูกใช้ในฟุตบอลโลกที่ฝรั่งเศส ที่มีสีแบบเดียวกับธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งก็คือ น้ำเงิน แดง ขาว แต่ที่เปลี่ยนไปแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนก็คือ Fevernova ของฟุตบอลโลกปี 2002 ที่ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพร่วม

ลวดลายของลูกบอลไม่ใช่สีขาวดำพื้นๆอีกต่อไป แต่ใช้สัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีทองแดงและเขียว ซึ่งมีการเสริมชั้นโฟมเข้าไปในลูกฟุตบอลเพื่อให้ลูกมีความนิ่มและพุ่งไปได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังถูกออกแบบให้น้ำหนักเบา เคลื่อนที่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าเดิม จนถูกวิจารณ์ว่ามันเบาเกินไปด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม ทางฝั่งผู้เล่นอย่าง เดวิด เบ็คแฮม ดาวดังทีมชาติอังกฤษ แบรนด์แอมบาสเดอร์ของอาดิดาสในสมัยนั้นเผยว่า ลูกฟุตบอลลูกนี้คือลูกที่มีความแม่นยำที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลย แต่ในทางกลับกัน จานลุยจิ บุฟฟ่อน และผู้รักษาประตูหลายคน มีปัญหากับการหยุดบอลชนิดนี้

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดีไซน์ของบอลที่ใช้ในการแข่งขันต่างก็ฉีกไปเรื่อยๆ ทั้งในฟุตบอลโลก, ยูโร หรือแม้กระทั่งฟุตบอลลีกใหญ่ๆในยุโรปที่เริ่มผลิตลูกฟุตบอลแข่งประจำลีก

อีกทั้งยังทำให้ บริษัทคู่แข่งอื่นๆทำการวิจัยพัฒนาเพื่อผลิตลูกฟุตบอลที่ตอบโจทย์วงการลูกหนังยุคปัจจุบันเช่นกัน ซึ่งรายที่โดดเด่นเคียงข้างกับค่าย 3 ขีด คงหนีไม่พ้น ไนกี้ ที่ผลิดบอลแข่งในพรีเมียร์ลีกนานกว่า 20 ปีแล้ว

 

บอลยุคใหม่ใช่ว่าไร้ปัญหา

World Cup balls: Al Rihla, Tango, Jabulani & the complete history of  official matchballs | Goal.com

ถึงแม้ลูกฟุตบอลในยุคใหม่จะมีการพัฒนาให้เบา, ลูกพุ่งเร็ว และมีความแม่นยำมากขึ้น แต่ก็ไม่วายจะสร้างปัญหาและข้อถกเถียงให้กับหลายฝ่ายไม่น้อย อย่าง Jabulani ในปี 2010 ที่คาดเดาทิศทางได้ยากยามลอยบนอากาศจนถูกนายทวารมากมายมองว่าเป็นลูกบอลที่แย่ แต่นักเตะบางคนกลับชอบมันซะอย่างนั้น 

ก่อนที่ นาซ่า จะสรุปว่าบอลลูกนี้ส่ายในอากาศด้วยความเร็วที่สูงกว่าลูกฟุตบอลก่อนๆ เพราะบอลมีผิวที่เรียบขึ้นจากการใช้แผ่นหนังเพียง 8 ชิ้นเท่านั้น 

อีกอย่างที่จะไม่พูดถึงไม่ได้คือ การฝั่งไมโครชิปเข้าไปในลูกบอลในเทคโนโลยีโกลไลน์เพื่อแก้ปัญหาที่ผู้ตัดสินไม่สามารถมองเห็นลูกยิงที่เข้าไปเต็มใบในจุดอับได้ เช่น ลูกยิงของ แฟรงค์ แลมพาร์ด ในฟุตบอลโลกปี 2010 และยังสามารถเก็บข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ได้ โดยนำมาใช้ครั้งแรกอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกปี 2018 ก่อนจะนำมาใช้ในลีกชั้นนำทั่วโลก 

ปัจจุบัน บริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬาก็ยังพัฒนาลูกฟุตบอลกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งวัสดุใหม่เพื่อช่วยให้บอลแม่นยำ, มีน้ำหนักในการเตะมากขึ้น หรือลวดลายต่างๆที่แปลกใหม่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ขณะที่รอยต่อแผ่นหนังต่างๆที่ใช้ในฟุตบอลก็ลดลงด้วย จาก 32 ชิ้น เหลือเพียง 18 ชิ้น, 14 ชิ้น หรือน้อยสุดเพียง 8 ชิ้นก็ยังมีให้เห็นมาแล้ว

และล่าสุดเหลือเพียง 4 ชิ้นเท่านั้นกับ Flight บอลใหม่จากไนกี้ ที่ใช้การพัฒนานาน 8 ปี  เพื่อลดการส่ายกลางอากาศ อีกทั้งทำให้เกิดจุดสัมผัสบอลที่ชัดเจนและการจับบอลที่เหนือชั้นยิ่งขึ้น และปัจจุบันก็ถูกใช้ในพรีเมียร์ลีกมา 3 รุ่นแล้วในช่วงเวลา 3 ฤดูกาลหลังสุด

มากไปกว่านั้นดีไซน์ของลูกฟุตบอลยังฉีกไปจากที่เคยเป็นมาและน่าจะเป็นการปฏิวัติรูปลักษณ์ของบอลอีกครั้ง เนื่องจากการที่บอลโดนแซะร่องให้มีลักยิ้มคล้ายๆลูกกอล์ฟไม่น้อย

และสิ่งเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่าลูกฟุตบอลแบบใหม่ๆจะมีส่วนในการพลิกโฉมวงการลูกหนังได้ไม่แพ้ นักเตะหรือกุนซือชื่อก้องแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคตก็ตาม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เดเด้ขอตามรอย : วิตโตริโอ ปอซโซ่ กุนซือผู้คว้าแชมป์โลก 2 สมัยติด
เดเด้ขอตามรอย : วิตโตริโอ ปอซโซ่ กุนซือผู้คว้าแชมป์โลก 2 สมัยติด