เจาะ 5 เหตุผลเอเชียยังไม่เกินรอบ 16 ทีมฟุตบอลโลก

เอเชีย

ในศึกฟุตบอลโลก 2022 นี้เราจะเห็นได้ว่าตัวแทนในแต่ละทวีปมีพัฒนาการขึ้นมาก ไม่เว้แม้แต่ทวีปเอเชียเองก็เช่นกัน เพียงแต่ก็ยังไม่มีทีมไหนสามารถไปได้ไกลกว่ารอบ 16 ทีมสุดท้ายเลยสักครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานี้

วันนี้ UFA ARENA จะมาลองเจาะเหตุผลที่ฟุตบอลเอเชียยังไม่สามารถไปได้ไกลเกินกว่ารอบ 16 ทีมสุดท้ายบนเวทีฟุตบอลโลกเลย

 

สรีระของคนเอเชีย

Germany 1-2 Japan: Flick's side left fearing early World Cup exit again  after shock defeat

เปิดเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดเวลาที่จะหาจุดด้ยของคนเอเชียนั่นคือรูปร่างที่มีความเล็กกว่าคนในทวีปอื่น แม้จะมีจุดเด่นในเรื่องความอึดแต่ก็ไม่เพียงพอกับกีฬาที่ใช้ร่างกายเข้าปะทะแบบฟุตบอล โดยเฉลี่ยแล้วความสูงของชายชาวเอเชียจะอยู่ที่ 167.5 เซนติเมตร ยุโรป 180 เซนติเมตร และ อเมริกาใต้ 171 เซนติเมตร ซึ่งความสูงถือเป็นปัจจัยนึงของกีฬาฟุตบอล

แน่นอนว่าความอึดก็มีผลกับประสิทธิภาพในการเล่นฟุตบอลระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการลงเล่นตลอด 90 นาทีหรือลากยาวไปถึง 120 นาทีแต่ปัจจัยในด้านร่างกายอื่นๆ คนเอเชียแทบจะไม่มีอาวุธไปสู้ได้เลย จะคนแอฟริกาที่มีความแข็งแกร่งรอบด้าน , คนยุโรปที่มีความแกร่ง และทักษะ รวมถึง อเมริกาใต้ที่มีความโดดเด่นเรื่องทักษะ

 

ความสนใจในกีฬาฟุตบอล

BFA Baseball Federation of Asia | Tournaments...

จริงอยู่เมื่อมองผิวเผินฟุตบอลดูจะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก แต่สำหรับทวีปเอเชียนั้น ฟุตบอลไม่ใช่กีฬาที่ได้รับความนิยมและสนใจมากที่สุด โดยกีฬาที่เป็นที่นิยมในเอเชียจะเป็น เบสบอล , แบตมินตัน , คริกเก็ต และกีฬาประเภทต่อสู้ หรือกีฬาแบบเดี่ยวต่างๆ มากกว่าเนื่องจากไม่ต้องใช้ร่างกายในการเข้าปะทะมากนักด้วยปัจจัยด้านสรีระ

นอกจากนี้ด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในทวีปเอเชีย ก็ทำให้แต่ละประเทศมีกีฬาประจำชาติเป็นของตัวเอง รวมถึงเรื่องค่านิยม ทัศนคติของคนแต่ละชาติก็มีความต่างกันสูงมาก ทำให้ส่งผลไปถึงการแข่งขันทั้งภายในประเทศ และในระดับทวีปเองก็ไม่ได้มีความเข้มข้นจริงจังในระดับเดียวกันนัก เมื่อเทียบกับทวีปอื่นที่เรียกว่ายกฟุตบอลไว้ขึ้นหิ้ง หรือเป็นโอกาสในการพลิกชีวิตของพวกเขา

 

ชีวิตความเป็นอยู่ไม่เอื้อ

Crestfallen South Korea fans fall silent on FIFA World Cup defeat to  Sweden- The New Indian Express

ยังคงอยู่กับเรื่องทัศนคติของคนในเอเชียที่มีความแตกต่างกันสูง ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลไม่ใช่แค่ความสนใจด้านกีฬา แต่ในเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจของแต่ละประเทศก็มีผล อย่างเช่นประเทศในตะวันออกกลาง พวกเขามีร่างกายที่พอฟัดพอเหวี่ยงกับทางยุโรปได้อยู่ เพียงแต่ระบบการปกครองของพวกเขาไม่ได้เอื้อให้คนโฟกัสกับกีฬาเท่าไรนัก 

หรือจะเป็นทางแทบเอเชียตะวันออกหรือในแทบประเทศไทยเอง ก็ไม่ได้มีระบบรองรับการเป็นนักกีฬาขนาดนั้น หากเลือกที่จะลุยเป็นนักฟุตบอลก็อาจต้องกระทบกับการเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในแทบนี้ให้ความสำคัญมากกว่าการเป็นนักกีฬา เมื่อถูกบีบให้เลือกอย่างใดอย่างนึง จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่ครอบครัวเอเชียจะสนับสนุนให้ไปทางสายกีฬาเต็มตัว เพราะถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงไม่น้อย และไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมจ่ายความเสี่ยงนี้

 

การลงทุนในฟุตบอล

How a king's love of football propelled Thailand to draw the biggest crowds  in Southeast Asia

เมื่อกีฬาฟุตบอลแม้จะไม่ได้เป็นที่นิยมในเอเชีย แต่ก็ยังคงเป็นกีฬาที่เข้าถึงง่าย ทำให้การลงทุนในกีฬาชนิดนี้ยังคงมีอยู่ แต่เป็นการลงทุนในรูปแบบการหาไอค่อนมาประดับที่ มากกว่าจะเอาเงินไปลงทุนพัฒนาเด็กเยาวชน เราจะเห็นได้หลายครั้งที่บรรดานักเตะดาวดังที่เข้าสู่ช่วงบั้นปลายอาชีพจะแวะมาแขวนสตั๊ดในแทบเอเชีย เนื่องจากความเข้มข้นในการแข่งขันที่ต่ำ ขณะที่ตัวสโมสรเองก็ได้ตัวไอค่อนแม่เหล็กประจำทีมมาทำกำไรให้สโมสร

ด้วยสถานการณ์แบบนี้เรียกได้ว่านอกจากจะไม่ได้สนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาแล้ว ยังมีนักเตะต่างชาติเข้ามาแทรกด้วยเหตุผลทางธุรกิจอีก ยิ่งทำให้นักเตะในประเทศนั้นๆแทบไม่ได้มีโอกาสลงสนามเพื่อพัฒนาฝีเท้าต่อไป แม้จะมีกฏเข้ามาควบคุมแต่ก็ไม่เพียงพออยู่ดี

 

ผลกระทบลูกโซ่ และแนวทางพัฒนา

E-1 Championship: Korea vs Japan -- The Preview | Tavern of the Taegeuk  Warriors

จากทุกสาเหตุที่กล่าวมามันกลายเป็นปัญหาที่กระทบกันเป็นลูกโซ่ แน่นอนว่าคนที่มีพรสวรรค์มีอยู่ทุกที่ทั่วโลก แต่ด้วยระบบที่ไม่เอื้ออำนวย ทัศนคติ แรงสนับสนุนของแต่ละประเทศ และการแข่งขันในระดับทวีปที่ต่ำ ทำให้น้อยครั้งที่จะเห็นดาวดังชาวเอเชียขึ้นมาเฉิดฉาย แถมบางทีเมื่อขึ้นมาโด่งดังถึงขั้นไปเล่นยุโรป ก็มักจะโดดกว่าเพื่อนร่วมทีมจนกลายเป็นว่ามีใครคนนึงเป็นตัวแบก แน่นอนว่ากีฬาที่เล่นเป็นทีมแบบนี้ใช้คนแค่คนเดียวไปไม่รอด

การพัฒนานักเตะในประเทศ และการส่งออกไปค้าแข้งนอกประเทศถือเป็นส่วนสำคัญของการที่ชาติในทวีปเอเชียจะสามารถไปแข่งขันบนเวทีระดับโลกได้ ซึ่งเกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างฟุตบอลเอเชียให้สามารถไปสู้กับทวีปอื่นๆได้ ด้วยการสนับสนุนอย่างจริงจัง การมีนักเตะออกไปค้าแข้งต่างประเทศ เสริมจุดเด่นเรื่องความอึดความคล่องตัวที่มีเพื่อกลบจุดด้อยด้านความแข็งแกร่งของร่างกาย นับเป็นแนวทางที่ชาติเอเชียอื่นๆน่าทำตาม 

เหมือนจะง่าย : ยิงจุดโทษอย่างไรให้เข้าเป้าในฟุตบอลโลก

เหมือนจะง่าย : ยิงจุดโทษอย่างไรให้เข้าเป้าในฟุตบอลโลก