ความสำเร็จในวงการลูกหนังอาจจะผ่านเข้ามาในชีวิตค้าแข้งของนักเตะหลายคนชั่วพริบตา แต่ก็มีไม่น้อยเช่นกันที่ความล้มเหลวจะผ่านเข้ามาทักทายพวกเขาได้แบบไม่ทันตั้งตัว
มีนักเตะไม่น้อยที่เคยได้โอกาสได้สัมผัสถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีก ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของนักเตะอาชีพก็ว่าได้ ทว่ากลับมานักเตะบางคนที่ได้สัมผัสช่วงเวลาตกต่ำที่สุดอย่างการตกชั้นกับต้นสังกัดในเวลาต่อมา
แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะห็นความแตกต่างในอาชีพค้าแข้งแบบชัดเจนราวฟ้ากับดิน แต่ UFA ARENA จะพาทุกท่านไปพบกับ 10 ดาวดังที่เคยประสบความสำเร็จขั้นสูงสุดอย่างการคว้า UCL มาครอง แต่ก็เคยพบกับประสบการณ์เลวร้ายถึงขั้นตกชั้นด้วยเช่นกัน
เอ็นวานโก้ คานู (อาแจ็กซ์ 1995/เวสต์บรอม 2006)
คิงคานูคือหนึ่งในนักเตะคนสำคัญของอาแจ็กซ์ชุดแชมป์ยุโรปปี 1995 หลายคนจดจำลูกพุ่งโหม่งเบิกสกอร์แรกให้ทีมเอาชนะไฮจ์ดุ๊ก สปลิตไปได้ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย รวมถึงลงเล่นในนัดชิงในฐานะตัวสำรองและช่วยให้ทีมเอาชนะ เอซี มิลานได้ 1-0 ด้วย
อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไป 11 ปี เรื่องราวของคานูกลับพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อเขากลายเป็นกองหน้าเท้าบอดสมัยค้าแข้งกับเวสต์บรอม ก่อนจะตกชั้นขณะที่เหลืออีก 2 เกม แต่ถึงอย่างนั้นกองหน้าชาวไนจีเรียก็ยังกลับมาสร้างชื่อได้อีกครั้งด้วยการคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ กับ พอร์ทสมัธในปี 2008 แต่ทว่าเขาก็ร่วงลงไปแชมเปี้ยนส์ชิพอีกครั้งในปี 2010
ริโอ เฟอร์ดินานด์ (แมนฯยูไนเต็ด 2008/คิวพีอาร์ 2015)
แฮร์รี่ เร้ดแน็ปป์พาคิวพีอาร์เลื่อนชั้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จ ก่อนจะเสริมทัพด้วยนักเตะแนวรับมากประสบการณ์อยู่หลายคน หนึ่งในนั้นคือ ริโอ เฟอร์ดินานด์ อดีตกองหลังเชิงสูงของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่คว้าแชมป์ 14 รายการ ในสมัยที่ค้าแข้งในโอลด์แทร็ฟฟอร์ดมานานกว่า 12 ปี รวมถึงถ้วย UCL ด้วย ทำให้ถูกคาดหวังว่าเขาจะช่วยให้ทีมอยู่รอดปลอดภัยในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลนั้น
แต่โชคร้ายที่ช่วงนั้นกองหลังปากเป็ดไม่ได้อยู่ในฟอร์มการเล่นที่พึ่งพาได้เลย ประกอบกับเขาต้องรับมือกับความเศร้าหลังการจากไปของ รีเบ็คก้า ภรรยาสุดที่รัก ด้วยโรคมะเร็ง และหลังจากที่ทีมตกชั้นไปได้ไม่นาน เฟอร์ดินานด์ก็ประกาศแขวนสตั๊ดอย่างเป็นทางการในซัมเมอร์นั้น
นิกกี้ บัตต์ (แมนฯยูไนเต็ด 1999/นิวคาสเซิล 2009)
บัตต์เป็นนักเตะที่พึ่งพาได้คนหนึ่งในยุคที่เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน คุมทีม แม้จะไม่ได้ลงเป็นตัวหลักก็ตาม แต่ทันทีที่รอย คีน ติดโทษแบน เขาก็ได้อยู่ในทีมชุดตำนานเมื่อ ‘ปีศาจแดง’ เอาชนะบาเยิร์น มิวนิคในรอบชิงแชมเปี้ยนส์ลีกได้ 2-1 รวมๆแล้ว บัตต์คว้าแชมป์กับยูไนเต็ดถึง 10 รายการ ก่อนจะย้ายไปอยู่นิวคาสเซิลในปี 2004 เพื่อโอกาสลงเล่นในตำแหน่งตัวจริงที่มากขึ้น
แต่แล้วการย้ายไปอยู่ในทีมที่เล็กกว่าก็ไม่ได้ทำให้เขาได้ลงสนามบ่อยกว่าเดิม เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่รบกวน และการปลดเซอร์ บ็อบบี้ ร็อบสันแบบกะทันหัน ทำให้ ‘สาลิกาดง’ มีสภาพทีมที่ไม่มั่นคงเหมือนเดิมอีกต่อไป และตกชั้นไปในปี 2009 อย่างไรก็ตาม บัตต์ช่วยทีมจากแดนอีสานต่ออีกหนึ่งฤดูกาลและพาพวกเขาเลื่อนชั้นมาได้สำเร็จ ก่อนจะแขวนสตั๊ดไปในเวลาต่อมา
ฟาบริซิโอ ราวาเนลลี่ (ยูเวนตุส 1996/ มิดเดิ้ลสโบรห์ 1997, ดาร์บี้ 2002)
‘ไอ้หงอก’หรือ ฟาบริซิโอ ราวาเนลลี่ ยิงไป 5 ประตูช่วยให้ยูเวนตุสผ่านเข้าสู่รอบชิงและคว้าถ้วยยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกมาครองในปี 1996 แต่จู่ๆในซัมเมอร์ต่อมา เขาก็แฟนบอลทั่วโลกด้วยการย้ายออกจากตูรินมาอยู่กับน้องใหม่ในพรีเมียร์ลีกอย่าง มิดเดิ้ลสโบรห์ ซะอย่างนั้น
ความจริงที่ราวาเนลลี่ยอมย้ายมาเพราะมีรายงานว่า เขาได้รับค่าเหนื่อยกว่า 42,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ซึ่งกองหน้าชาวอิตาเลี่ยนตอบแทน ‘สิงห์แดง’ แบบคุ้มค่าทุกปอนด์ด้วยการซัดไปถึง 31 ลูกรวมทุกรายการในปีนั้น รวมถึงพาทีมเข้ารอบชิงลีก คัพ และ เอฟเอ คัพ ด้วย แม้จะพ่ายทั้ง 2 รายการก็ตาม และน่าเสียดายที่โบโร่ต้องตกชั้นในเกมสุดท้าย อย่างไรก็ตามแม้เขาจะสาบานว่าจอยู่ช่วยทีมให้เลื่อนชั้นขึ้นมาอีกครั้งให้ได้ แต่ว่า ราวาเนลลี่ก็กลืนน้ำลายย้ายไปอยู่มาร์กเซยหลังเปิดฤดูกาลใหม่ได้แค่ 2 นัด
แต่ดูเหมือนอดีตหัวหอก ‘ม้าลาย’ ยังไม่เข็ดกับการเล่นให้ทีมน้องใหม่ในอังกฤษ เมื่อย้ายทีมมาอยู่ดาร์บี้ในปี 2001 และพวกเขาก็หล่นลงไปลีกรองทันทีหลังจบฤดูกาลนั้น
สตีฟ ฟินแนน (ลิเวอร์พูล 2005/พอร์ทสมัธ 2010)
ฟินแนนคือนักเตะที่ทำสถิติลงเล่นในฟุตบอลโลก, แชมเปี้ยนส์ลีก, ยูฟ่า คัพ, อินเตอร์โตโต้ คัพ, ลีกสี่ระดับบนในลีกอังกฤษ แต่สิ่งที่ทำให้แฟน ‘หงส์แดง’ จดจำเขาได้ขึ้นใจ เพราะฟินแนนคือหนึ่งในนักเตะชุดปาฏิหารย์ที่อิสตันบลูและพาลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยุโรปได้ และได้เล่นนัดชิงอีกครั้งในปี 2007 แต่ทว่าถูกเอซี มิลานล้างแค้นได้นปีนั้น
แข้งชาวไอริชย้ายไปเล่นในสเปนช่วงสั้นๆกับเอสปันญ่อล และกลับมาค้าแข้งในอังกฤษอีกครั้งกับพอร์ทสมัธในปี 2010 ซึ่งเป็นปีที่พอร์ทสมัธตกชั้นและเป็นจุดเริ่มต้นของความตกต่ำจนถึงปัจจุบัน โดยฟินแนนได้เล่นเกมสุดท้ายให้ ‘ปอมปีย์’ ในนัดชิงเอฟเอ คัพ กับ เชลซี และพ่ายไปด้วยสกอร์ 1-0
เดนนิส เออร์วิน (แมนฯยูไนเต็ด 1999/วูล์ฟ 2004)
เออรวินคว้าแชมป์ 13 รายการกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด หนึ่งในนั้นคือแชมป์ยุโรปในปี 1999 แต่ในปี 2002 เฟอร์กี้เลือกที่ไม่ต่อสัญญาของเขาไปอีกในวัย 36 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เออร์วินควรจะบอกลาฟลอร์หญ้าได้แล้ว
แต่แข้งไอริชยังไม่ยอมหมดไฟง่ายๆ เขาย้ายไปอยู่กับวูล์ฟแฮมป์ตันในลีกรอง ซึ่งแรกเริ่มทุกอย่างดูไปได้สวยเมื่อเขาช่วยให้ทีม ‘หมาป่า’ เลื่อนชั้นขึ้นลีกสูงสุดได้ครั้งแรกในรอบ 19 ปี แต่การเล่นลีกระดับนี้บวกกับสังขารที่ไม่ได้ดีเหมือนเมื่อก่อนทำให้ตัวเขาไม่สามารถช่วยอะไรได้มากในปีสุดท้ายในอาชีพค้าแข้ง ก่อนที่วูล์ฟส์จะตกชั้นไปด้วยอันดับบ๋วยของตาราง
บิคตอร์ บัลเดส (บาร์เซโลน่า 2006, 2009, 2011/ มิดเดิ้ลสโบรห์ 2017)
นายทวารชาวสแปนิชคว้าถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีกกับบาร์เซโลน่ามาได้ถึง 3 ครั้ง แต่ว่าในพรีเมียร์ลีก บัลเดส แทบไม่มีประสบการณ์ดีหลงเหลืออยู่ความทรงจำของแฟนบอลเลย จากผู้รักษาประตูที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการยกย่องว่าคือหนึ่งในนายทวารที่สุดของโลก แต่อาการบาดเจ็บที่เอ็นไขว้หน้าทำให้เขามือตกไปพอสมควร จนกลายเป็นแค่อะไหล่สำรองของดาบิด เค เคอา ในแมนฯยูไนเต็ด และแย่กว่าเดิมในช่วงที่อยู่กับมิดเดิ้ลสโบรห์ในปี 2016
แม้ว่าบัลเดสจะดูเข้าสไตล์การทำทีมของ ไอตอร์ การันก้า ที่ช่วยให้โบ่โร่เลื่อนชั้นขึ้นมาด้วยการเล่นที่โดดเด่น และทว่าพวกเขาก็ไม่สามารถหารูปแบบการเล่นที่เหมาะสมในพรีเมียร์ลีกได้ ทำให้การันก้าถูกปลดในเวลาต่อมา และ ‘สิงห์แดง’ ก็ตกชั้นหลังจากคว้าชัยในลีกได้แค่ 5 นัดเท่านั้น ทำให้บัลเดสไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากบอกลาถิ่นริเวอร์ไซด์ และแขวนถุงมือในเวลาต่อมา
ไมเคิล คาร์ริค (แมนฯยูไนเต็ด 2008/เวสต์แฮม 2003)
สำหรับคาร์ริค เขาคือนักเตะที่แตกต่างจากคนอื่นๆในลิสต์ซักหน่อย เนื่องจากเขาต้องเผชิญหน้ากับความล้มเหลวก่อน โดยตกชั้นกับเวสต์แฮมในปี 2003 ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ดีเกินกว่าจะตกชั้นในปีนั้น แต่คาร์ริคก็ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตัวเองในทีมขุนค้อนต่อไปในแชมเปี้ยนส์ชิพ ก่อนจะย้ายไปเล่นให้สเปอร์สและแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดตามลำดับ
หลังจากที่ลองผิดลองถูกมาหลายรอบ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน มองว่า คาร์ริค นี่แหละคือตัวแทนของรอย คีน แม้จะไม่ได้เป็นตัวตัดเกมหนักแบบนั้น แต่กองกลางชาวอังกฤษก็พาปีศาจแดงคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก 5 สมัย, เอฟเอ คัพ, ลีก คัพ 3 สมัย, ยูโรป้า ลีก และ แชมป์ UCL ในปี 2008 ที่พวกเขาดวลจุดโทษเอาชนะเชลซีได้แบบสุดดราม่า
อิบราฮิม อเฟลลาย (บาร์เซโลน่า 2011/สโต๊ค 2018)
ทันทีที่ย้ายจาก พีเอสวี ไอนด์โฮเฟ่น มาร่วมทีมบาร์เซโลน่าในปี 2011, ชีวิตค้าแข้งของอเฟลลายก็อยู่ในจุดสูงสุด เมื่อประสานงานกับลิโอเนล เมสซี่ เอาชนะเรอัล มาดริดมาได้ในรอบตัดเชือก UCL รวมไปถึงได้มีโอกาสลงเล่นในนัดชิงที่อัดแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไป 3-1 ด้วย แต่โชคร้ายที่ในฤดูกาลต่อมา ปีกชาวดัชต์ถูกอาการบาดเจ็บรบกวนทำให้เขาไม่สามารถลงเล่นได้บ่อยครั้งเมื่อปีแรกที่อยู่กับ ‘อาซูลกราน่า’
จากนั้นอเฟลลายได้ย้ายมาหาความท้าทายในแดนผู้ดีกับสโต้คในปี 2015 แต่ด้วยปัญหาอาการบาดเจ็บที่รบกวนไม่เลิกรารวมไปถึงทัศนคติในการเล่นได้ส่งผลต่ออาชีพค้าแข้งของเขาอย่างมาก มีส่วนทำให้เขาไม่สามารถโชว์ฟอร์มเก่งได้อีกครั้ง และ ‘ช่างปั้นหม้อ’ ก็ตกชั้นไปในปี 2018 ก่อนที่ตัวเขาจะถูกยกเลิกสัญญากับทีมในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
โชเซ่ โบซิงวา (เชลซี 2012/คิวพีอาร์ 2013)
โรแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ พาเชลซีคว้าถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีกมาครองได้แบบหักปากกาเซียนทุกสำนัก และหนึ่งในนักเตะคนสำคัญผู้ปิดทองหลังพระให้ทีมมาตลอดก็คือ เชเซ่ โบซิงวา ไมว่าจะเป็นรอบรองนัดสองกับบาร์เซโลน่าที่พวกเขาต้องเสียจอห์น เทอร์รี่ไปเพราะใบแดงตั้งแต่ครึ่งแรกแลรับปลอกแขนกัปตันทีมแทน หรือในนัดชิงที่เขาตามประกบฟร้องค์ ริเบรี่ของบาเยิร์น มิวนิคจนอยู่หมัด ก่อนคว้าแชมป์ UCL ในบั้นปลาย
แต่ในซัมเมอร์ต่อมา เขาเลือกย้ายไปอยู่กับ คิวพีอาร์ ด้วยวัยแค่ 30 ปีเท่านั้น ซึ่งเขาควรจะช่วยให้ทีมแข็งแกร่งขึ้น แต่กลับกันแบ็คชาวโปรตุเกสเป็นคนที่ทำให้แฮร์รี่ เร้ดแน็ปป์ถูกปลดในเวลาต่อมา หลังปฏิเสธนั่งสำรองในเกมกับฟูแล่ม และต่อจากนั้นเขาก็ถูกแฟนบอลโห่ใส่ พร้อมกับถูกตราหน้าว่าเป็นว่าเป็นแข้งที่ค่าตัวแพงแต่เล่นได้ต่ำกว่ามาตรฐาน
หลังจากที่คิวพีอาร์ตกชั้น โบซิงวาตัดสินยกเลิกสัญญา 2 ปีกับสโมสรและเลือกย้ายไปเล่นกับ แทร็บซอนสปอร์ในลีกตุรกีแทน