เปิดฉากกันไปเรียบร้อยสำหรับ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาล 2022-23 หลังจากเว้นว่างไปนานร่วมๆ 2 เดือนกว่า ซึ่งมาพร้อมกับกฎใหม่อย่างการเปลี่ยนตัว 5 คน
จริงๆ กฎดังกล่าวก็ไม่ใช่ของใหม่เสียทีเดียว เพราะในช่วงลีกรีสตาร์ทหลังการแพร่ระบาดโควิดปี 2020 พรีเมียร์ลีกก็ยังได้ใช้อยู่เหมือนลีกอื่นๆในยุโรป แต่ก็ไม่ถูกนำมาใช้ในช่วง 2 ฤดูกาลหลังสุด เนื่องจากหลายทีมเกินครึ่งโหวตคัดค้านเรื่องนี้ จนกระทั่งในเดือนมีนาคมปี 2022 ทีมจากลีกสูงสุดเห็นพ้องต้องกันถึงการเปลี่ยนตัวลักษณะนี้ และประกาศใช้อย่างเป็นทางการในฤดูกาลล่าสุด
หากย้อนไปดูสถิติในการใช้โควต้าเปลี่ยนตัวในลีกแดนผู้ดีกลับพบว่าเกือบทั้งหมดใช้โควต้าเปลี่ยนตัวครบ 3 ราย อีกทั้งเทรนด์โดยรวม ก็เห็นได้ชัดว่าทีมต่างๆมีการใช้ตัวสำรองมากขึ้นในช่วง 10 ซีซั่นหลังสุด โดยมีค่าเฉลี่ยใช้ตัวสำรองราว 2.8 ครั้งต่อเกมในซีซั่นที่ผ่านมา ตรงกันข้ามกับฤดูกาล 2021-21 เลยที่ทีมต่างๆมีค่าเฉลี่ยใช้ตัวสำรองแค่ 2.68 เท่านั้น ในตอนที่ลีกไม่อนุมัติกฎการเปลี่ยนตัวแบบ 5 คน
ทว่าการเปลี่ยนตัวลักษณะนี้จะส่งผลต่อทีมอย่างไรและจะเปลี่ยนสไตล์การเล่นได้อย่างไร? UFA ARENA จึงขอพาไปย้อนดูสถิติ และวิเคราะห์ว่าลีกผู้ดีจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างกับกฎดังกล่าวผ่านบทความชิ้นนี้กัน
ทีมไหนใช้ตัวสำรองมากสุด
มี 3 ทีมที่ใช้การเปลี่ยนตัวครบโควต้าในทุกๆเกมบนพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่ผ่านมา นั่นก็คือ เบรท์ฟอร์ด, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ นอริช ซิตี้
ขณะที่ แอสตัน วิลล่า, ไบรท์ตัน, เชลซี, ลิเวอร์พูล, อาร์เซน่อล และ เซาแธมป์ตัน คือทีมที่ใช้ขุมกำลังจากม้านั่งสำรองบ่อยๆเช่นกัน โดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.98 จนถึง 2.89 ครั้งต่อเกม
แต่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ กลับเป็นทีมที่มีค่าเฉลี่ยเปลี่ยนตัวสำรองต่อเกมน้อยที่สุดในลีกเพียง 2.08 ครั้ง แม้ว่า เป๊ป กวาร์ดิโอล่า เป็นหนึ่งในกุนซือที่เรียกร้องให้ลีกใช้การเปลี่ยนตัวแบบ 5 คนมาตลอดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็ตาม
ดังนั้นตัวเลขเหล่านี้ถือเป็นหลักฐานว่ากฎใหม่นั้นถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดประเภททีมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทีมลุ้นท็อปโฟร์ ลุ้นไปบอลยุโรป ทีมครึ่งล่าง หรือทีมหนีตกชั้น?
หากเรียงรายชื่อตามอันดับลีกของฤดูกาลที่แล้ว มีการบ่งชี้ว่ากฎใหม่จะส่งผลเสียต่อทีมที่ดิ้นรนหนีตกชั้น เพราะ เอฟเวอร์ตัน, ลีดส์, เบิร์นลีย์ และวัตฟอร์ด ถือเป็นทีมที่มีเปลี่ยนตัวน้อยที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทีมอื่นๆมีทรัพยากรให้เลือกใช้มากกว่า ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำที่อาจเพิ่มขึ้นภายใต้กฎใหม่
ทีมไหนใช้ตัวสำรองในสนามนานสุด
แน่นอนว่าการเปลี่ยนตัวในช่วงทดเวลา ไม่ได้ทำให้นักเตะมีส่วนร่วมเท่าตอนที่เปลี่ยนตัวลงไปแต่เนิ่นๆ และวิธีที่ดีในการหาจำนวนนี้คือการคำนวณเวลาเล่นเกมโดยเฉลี่ยสำหรับตัวสำรอง
ลีดส์ ยูไนเต็ด ที่ทีมที่มีการใช้ตัวสำรองเฉลี่ยต่อเกมน้อยเป็นอันดับ 5 ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่แล้ว ร่วมกับ สเปอร์ส และ วัตฟอร์ด ที่จำนาน 2.79 แต่ ยูงทอง เป็นทีมที่เปลี่ยนตัวมากที่สุดในช่วงครึ่งหลัง ถึง 23 ครั้ง (ยุค มาร์เซโล่ บิเอลซ่า 17, เจสซี่ มาร์ช 6) ซึ่งหาค่าเฉลี่ยในการลงเล่นของตัวสำรองก็เท่ากับว่าได้ลงเล่นในสนามถึง 28 นาที
อันที่จริง สโมสรส่วนใหญ่ที่มีส่งตัวสำรองลงสนามนานที่สุดโดยทั่วไปจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มครึ่งล่างของตาราง ซึ่งบ่งบอกว่าสโมสรเหล่านี้กำลังทำการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายมากขึ้นและควบคุมทรัพยากรที่จำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งระดับสูงร่วมลีก
การถกเถียงดังกล่าวสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนมากที่สุด เมื่อมีการโชว์แผนภาพ ซึ่งแสดงแนวโน้มทั่วไปของนาทีทดแทนที่เพิ่มขึ้นเมื่อทีมอยู่อันดับล่างๆลงมา
ทีมไหนเปลี่ยนตัวได้มีประสิทธิภาพมากสุด
ทีมไหนกันที่ประสบความสำเร็จจากผู้เล่นในซุ้มม้านั่งสำรองมากที่สุด และเมื่อวัดจากการมีส่วนร่วมกับประตู ลิเวอร์พูล ก็คือทีมอันดับหนึ่งในด้านนี้ เมื่อตัวสำรองของพวกเขาสามารถลงมาสร้างสรรค์และทำประตูได้ถึง 17 ลูกในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่ผ่านมา โดยมี เลสเตอร์ ซิตี้ และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ตามมาเป็นอันดับ 2 (เท่ากันที่ 16 ลูก)
ขณะที่ทีมที่ตัวสำรองสามารถลงมาเปลี่ยนเกมได้รองลงมา ก็ตามมาด้วย แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (15), เชลซี (13), แอสตัน วิลล่า และ คริสตัล พาเลซ (เท่ากัน 12)
อย่างไรก็ตาม วิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการวัดจำนวนผลกระทบคือการคำนวณสัดส่วนของเป้าหมายของทีมที่ทำประตูโดยตัวสำรอง ดังนั้นต้องคำนึงถึงคุณภาพของเกมรุกโดยรวมของแต่ละฝ่ายด้วย
จากการวัดนี้เท่ากับว่า ตัวสำรองแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทำประตูสูงสุดในลีกในจำนวน 17.5% ของประตูโดยรวมของทีมในฤดูกาลที่แล้ว (10 จากทั้งหมด 57 ประตู) ตามด้วยวัตฟอร์ด (14.7%, 5 จากทั้งหมด 34), ลีดส์ (14.3%, 6 จากทั้งหมด 42) และคริสตัล พาเลซ (14 %, 7 จากทั้งหมด 50)
ใครปังสุดในตัวสำรอง
อิลคาย กุนโดกัน กองกลางจาก แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ ไมเคิ่ล โอลิเซ่ ปีกดาวรุ่งของ คริสตัล พาเลซ คือตัวสำรองที่ลงมามีส่วนร่วมกับประตูมากที่สุดในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่ผ่านมา ด้วยจำนวน 5 ประตู ตามมาด้วย มาร์คัส แรชฟอร์ด, โรแบร์โต้ ฟีร์มิโน่, ริยาด มาห์เรซ และ อโยเซ่ เปเรซ (4 ประตูเท่ากัน)
ขณะที่ เอ็มมานูเอล เดนนิส กองหน้าของ วัตฟอร์ด ซึ่งว่าเป็นหนึ่งในแข้งของ แตะอาละวาด ที่โดดเด่นที่สุดในซีซั่น คือตัวสำรองที่ทำผลงานได้ดีที่สุด หากวัดจากค่าเฉลี่ย โดยลงเป็นตัวสำรอง 26 นาที แต่ทำไปถึง 1 ประตูกับ 2 แอสซิสต์ ในเกมถล่ม เอฟเวอร์ตัน 5-2 เมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน
นอกจากนี้ ยังมีถึง 4 คนที่ลงมายิงได้ถึง 2 ประตูในฐานะตัวสำรอง ทั้ง ออสซอน เอดูอาร์ ที่ลงเล่นเพียง 6 นาทีเท่านั้นในเวลาปกติ, สตีเว่น เบิร์กไวน์ (11 นาทีก่อนช่วงทดเวลา), กุนโดกัน (22 นาที) และ เปเรซ (27 นาที)
ส่วนตัวสำรองที่ลงเล่นมากที่สุดในฤดูกาลก่อนคือ แอชลี่ย์ ยัง ฟูลแบ็คตัวเก๋าของ แอสตัน วิลล่า โดยใช้เวลาลงสนามจากม้านั่งสำรอง 407 นาที เฉลี่ยแล้วเท่ากับอยู่ในสนาม 29 นาที
ด้าน ไทเลอร์ โรเบิร์ต และ โจ เกลฮาร์ด 2 คู่หูจาก ลีดส์ คือตัวสำรองที่ถูกส่งลงสนามช่วงต้นครึ่งหลังบ่อยๆ โดยลงเล่นพอๆกัน 389 นาที และ 371 นาทีตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยในสนามที่ 25 นาที
กฎนี้เอื้อทีมใหญ่จริงหรือไม่?
โดยทั่วไปแล้วทีมระดับท็อปจะเปลี่ยนตัวมากกว่า แต่ทีมครึ่งล่างทำการเปลี่นตัวผู้เล่นที่มีความหมายมากขึ้น กว่าการเปลี่ยนตัวแบบกินเวลาและรักษาสกอร์ผลการแข่งขันในช่วงทดเวลา
บางคนเชื่อว่าทีมระดับท็อปมีขนาดทีมที่แข็งแกร่งกว่า และการเปลี่ยนตัว 5 คนจะเป็นประโยชน์ต่อทีมเหล่านี้มากที่สุด แต่ผลลัพธ์สำหรับการเปลี่ยนตัวทั้งหมดที่ใช้และเวลาในเกมของการเปลี่ยนตัวโดยเฉลี่ยจะเพิ่มน้ำหนักให้กับการถกเถียงนี้
อย่างไรก็ตาม สโมสรครึ่งล่างมักจะมีในทรัพยากรที่จำกัด โดยแบ่งเวลาเล่นให้กับกลุ่มตัวสำรองที่กว้างขึ้น เพื่อพยายามหาวิธีและโอกาสชนะ ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้วสโมสรเหล่านี้ใช้ผู้เล่นโดยรวมมากกว่าอย่างไร ยกเว้นแต่ เบิร์นลีย์, คริสตัล พาเลซ และเซาแธมป์ตัน เท่านั้น
แต่ผลลัพธ์ก็กลับพลิกผันอีกครั้งด้วยการเปลี่ยน 11 ตัวจริง โดยทีมชั้นนำแข่งขันกันในการตั๋วลุยฟุตบอลยุโรปเพิ่มเติม มักจะหมุนเวียนผู้เล่นจากจุดเริ่มต้นบ่อยขึ้น ยกเว้นอาร์เซนอล (57) เวสต์แฮม (60)และ ท็อตแน่ม (60)
โดยทั่วไปแล้ว ทีมระดับท็อปมักจะใช้ผู้เล่นน้อยกว่า แต่หมุนเวียนเหล่าผู้แกนหลักบ่อยกว่า ในขณะที่สโมสรระดับล่างเปลี่ยนตัวน้อยลง แต่ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดก็มีการมอบเวลาเล่นเกมให้กับกลุ่มผู้เล่นจากม้านั่งกว้างขวางขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงกฎสามารถเปลี่ยนแนวโน้มนี้ไปสู่การโรเตชั่นที่น้อยลงในแต่ละเกม และนี่เป็นความเป็นไปได้ที่อาจเกิดจึ้น แม้ว่าสโมสรเหล่านี้ไม่ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในช่วงฤดูกาล 2020-21 เมื่ออนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้ 5 คนก็ตาม
หลายทีมคงอยากหลีกเลี่ยงการทดลองกับระบบชั่วคราวในระหว่างฤดูกาลที่คาดเดาอะไรไม่ได้ แต่การเปลี่ยนแปลงกฎถาวรอาจจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการที่ทีมชั้นนำหมุนเวียนทีมมากขึ้น ในขณะที่ทีมครึ่งล่างอาจใช้ประโยชน์จากกฎนี้เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีเพื่อะยายามเอาชนะคู่ต่อสู้ที่เหนือกว่าให้ได้
มีผลต่อการเล่นมากน้อยแค่ไหน
กฎใหม่นี้สามารถสร้างลีกที่อัดแน่นด้วยพละกำลังมากขึ้น โดยที่สโมสรสามารถเปลี่ยนทีมเอาท์ฟิลด์ได้ถึงครึ่งหนึ่งในช่วงพักครึ่ง โดยกำหนดให้เปลี่ยนตัวได้เพียง 2 คนในช่วงเวลาดังกล่าว
เหตุผลหนึ่งที่ลีดส์ เปลี่ยนตัวไปถึง 23 ครั้งในช่วพักครึ่งชองฤดูกาลที่แล้วคือการช่วยรักษารูปแบบการเล่นที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นได้ดีที่สุดจากการวิ่งแลลสปิรนท์ถึง 6,495 ครั้ง ในฤดูกาลที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าทีมอื่นๆ ในลีก 1,220 ครั้ง
ดังนั้นจึงเป็นไปได้มากที่เราจะได้เห็นบางทีมใช้รูปแบบการเล่นที่ดุเดือดมากขึ้น โดยมุ่งไปที่การวิ่งครึ่งหนึ่งของการแข่งแทนการวิ่งออมแรงแบบเดิมใน 90 นาทีแน่นอน