สถิติ จิตใจ หรือดวง! สิ่งสำคัญในจุดโทษสมัยใหม่

จุดโทษ

การยิงจุดโทษเป็นเรื่องที่มีความละเอียดทั้งในเรื่องการเตรียมการ ข้อมูล และเรื่องของจิตใจ ทำให้ในยุคสมัยใหม่ที่มีเทคโนโลยีการเก็บสถิติต่างๆ ไม่ใช่แค่เรื่องของการเดินไปที่พื้นที่ 12 หลา เดาทางแล้วไปวัดดวงกันอีกต่อไป แต่มีเรื่องการเตรียมตัวทั้งฝ่ายยิงฝ่ายรับ การกางข้อมูลออกมาเฉือนกัน ไปจนถึงการวางแทคติคจิตวิทยาต่างๆ

วันนี้ UFA ARENA จะพาไปเจาะลึกการยิงจุดโทษในฟุตบอลสมัยใหม่ ที่มีทั้งการติวเข้มในด้านต่างๆ เรื่องของสภาพจิตใจระหว่างยิง และแน่นอนว่ารวมถึงเรื่องโชคดวงด้วย

 

จุดโทษในฟุตบอลสมัยใหม่

Penalty heartbreak for Eintracht Frankfurt as Chelsea book English Europa  League final | Sports | German football and major international sports news  | DW | 09.05.2019

ในโลกฟุตบอลยุคปัจจุบันมีเรื่องของเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการเก็บสถิติมาเกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งมันก็ส่งผลในหลายๆด้านรวมถึงการยิงจุดโทษ ที่ก่อนหน้านี้แทบจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของโชคดวง และการคาดเดาล้วนๆ แต่เมื่อฟุตบอลพัฒนามาไกลจากเดิมบรรดานักฟุตบอล และสต๊าฟโค้ชก็ต้องปรับตามไปด้วย

ในการยิงจุดโทษเป็นที่รู้กันดีว่ามีกฏห้ามไม่ให้ผู้รักษาประตู ออกมานอกเส้นประตูก่อนที่จะมีการยิง เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นการเอาเปรียบคนที่ยิงจากการปิดมุมมากเกินไป แน่นอนว่าในสมัยก่อนการขยับนิดขยับหน่อยมันก็ไม่มีใครมานั่งจับผิดได้ทันอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีในการจับภาพทุกฝีก้าว มันก็ทำให้นายทวารขยับตัวลำบากขึ้น

เมื่อการใช้เหลี่ยมใช้ลูกตุกติก หรือช่องว่างเล็กๆน้อยๆมันใช้ได้ยากแล้ว ฝ่ายรับก็ต้องทำการบ้านมากขึ้นกว่าเดิมโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บสถิติมาวิเคราะห์ ทั้งมุมยิงความน่าจะเป็นต่างๆ รวมถึงเรื่องของจิตวิทยา ทั้งหมดเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการซ้อมจนเรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญเลยทีเดียว

 

ติวเข้มทั้งคนยิงคนเซฟ

Tottenham's Kyle Walker, Kyle Naughton, Steffen Freund and Lewis Holtby  have penalty shootout | Daily Mail Online

แน่นอนว่าการฝึกซ้อมยิงจุดโทษโดยทั่วไปมันก็มีเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่จะไม่ได้ลงลึกมากเท่าเวลาต้องมีการตัดสินด้วยการยิงจุดโทษอย่างเกมรอบตัดเชือกหรือเกมนัดชิง ไม่ว่าจะในเรื่องของสภาพจิตใจ และเรื่องของสถิติ การยิงของฝ่ายตรงข้าม หรือ การเดาทางผู้รักษาประตูฝ่ายตรงข้าม นั่นแปลว่าทั้งคนที่รับบทบาทป้องกันประตู และคนที่เป็นฝ่ายสังหารประตู ก็ต้องมีการติวเข้มก่อนเกมกันทั้งคู่

มาเริ่มที่ฝ่ายยิงประตูกันก่อน มีผลการวิเคราะห์กันออกมาว่าในระยะ 12 หลาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไปที่มุมบนจะทำให้ความเร็วของลูกฟุตบอลอยู่ที่ 0.3 วินาที และมีโอกาสเป็นประตูสูงเนื่องจากตามปกติแล้วผู้รักษาประตูจะใช้เวลาราวๆ 0.4 วินาที ในการประมวลผล ขยับตัว พุ่งออกไปเพื่อป้องกัน นอกจากนี้เมื่อกางสถิติออกมาจะเห็นว่า การยิงมุมบนตรงกลางประตูด้วยความเร็วข้างต้น จะเป็นจุดที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะมีโอกาสถูกเซฟแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้บริเวณกลางประตูเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการยิงจุดโทษก็เพราะ มันเป็นจุดที่ผู้รักษาประตูจะคาดการณ์ในการเซฟน้อยที่สุด โดยมีงานวิจัยมาสนับสนุนว่านายประตูส่วนมากจะเลือกพุ่งไปทางขวามือตัวเอง ในขณะที่รายงานวิเคราะห์สถิติจาก The Guardian ก็เปิดเผยว่า จอมหนึบทั้งหลายเลือกพุ่งไปทางซ้ายหรือขวามือตัวเอง 49.3 เปอร์เซ็นต์ , ทางขวา 44.4 เปอร์เซ็นต์ และมีแค่ 6.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เลือกยืนอยู่ตรงกลาง

ไม่มีคำอธิบาย

ต่อที่ฝั่งคนที่ป้องกันประตูเองก็ต้องมีการทำการบ้านจะสถิติ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการวิเคราะห์ต่อเนื่องจากข้างต้นนอกจากจะเปิดเผยการพุ่งตัวของนายทวารแล้ว ยังเปิดเผยถึงการยิงของนักเตะอีกด้วยว่าจะเลือกยิงตรงกลางหรือมุมบนมากถึง 28.7 เปอร์เซ็นต์ ยิงมุมขวา 39.2 เปอร์เซนต์ และยิงทางไปซ้ายเพียงแค่ 32.2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ในด้านแทคติคการพุ่งตัวเซฟของผู้รักษาประตูแบ่งได้ 2 แบบคือแบบ GA หรือการตัดสินใจพุ่งตัวในขณะที่ผู้เตะตัดสินใจเตะบอล แล้วค่อยพุ่งไปทางนั้น กับอีกแบบคือ GB หรือการเลือกทิศทางไว้ก่อนแล้วจึงค่อยพุ่งตัวออกไป ซึ่งจากสถิติพบว่าการพุ่งแบบ GA มีเปอร์เซ็นนต์การเซฟดีกว่าที่ 60 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่แบบ GB จะเซฟได้แค่ 7.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ก็มีเงื่อนไขอยู่ที่ความเร็วของลูกซึ่ง GA จะเหมาะกับความเร็วช้าหรือปานกลางมากกว่า และ GB เหมาะกับความเร็วที่มากกว่า ซึ่งทั้งคู่มีข้อดีข้อเสียต่างกัน

จะเห็นได้ว่าทั้งคนยิงและคนป้องกันประตู ต่างก็ต้องทำงานกันหนักขึ้นในการซ้อมก่อนที่จะมายิงจุดโทษตัดสินกัน โดยมีทั้งเรื่องเทคนิค สถิติ ที่มีในปัจจุบันมาปรับใช้กันในการซ้อมและการตัดสินใจในสนาม ถือเป็นการชิงไหวชิงพริบกันในกรอบ 12 หลา จึงทำให้เราเห็นกันบ่อยๆว่าจะมีการเปลี่ยนตัวนายด่านเพื่อไปเซฟจุดโทษโดยเฉพาะ เพราะการติวเข้มเฉพาะกิจแบบนี้นี่เอง

 

จิตใจเป็นเรื่องสำคัญ

Redknapp annoyed at 'ridiculous' Kepa Arrizabalaga decision by Chelsea

ในการยิงจุดโทษตัดสินนักเตะทั้ง 5 คนที่ถูกเลือกให้มายิงเป็นคนแรก รวมถึงผู้รักษาประตูนั้น นอกจากเรื่องของการติวเข้มด้านสถิติและเทคนิคแล้ว เรื่องจิตใจก็สำคัญในแง่ของจิตวิทยา มีสถิติออกมาว่าฝ่ายที่เป็นผู้ยิงก่อนมีโอกาสเป็นผู้ชนะสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นฝ่ายที่สามารถกุมความได้เปรียบและโยนความกดดันให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ง่ายกว่าผู้ที่ยิงทีหลัง

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่าผู้ที่ยิงประตูเพื่อตัดสินให้ทีมชนะ มีโอกาสยิงสำเร็จสูงถึง 92 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงที่มีความมั่นใจ และแรงผลักดันในการพาทีมชนะมากกว่าผู้ที่ต้องเป็นฝ่ายมายิงตามตีเสมอให้กับทีม แต่แน่นอนว่าถ้าหากพลาดจะส่งผลกับนักเตะคนอื่นๆที่ต้องไปดวลกันต่อในช่วง Sudden Death โดยโอกาสจะลดเหลือแค่ 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

Focus on England penalties is 'embarrassing', says Waddle

ด้วยสาเหตุนี้คนที่ยิงจุดโทษเป็นคนสุดท้ายจึงต้องเป็นคนที่มีความแน่นอน และความมั่นใจมากที่สุด การเรียงลำดับจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้ก็มีอย่าง บูกาโย่ ซาก้า ดาวรุ่งจากอาร์เซน่อลที่มายิงจุดโทษให้กับทีมชาติอังกฤษในเกมนัดชิงยูโร 2020 กับอิตาลี แน่นอนว่าเขากำลังมีความมั่นใจ และฝีเท้าเองก็ถือว่าไว้ใจได้ แต่ในเรื่องของอายุที่ต้องแบกรับความกดดันในฐานะผู้ชี้ชะตา เจ้าตัวยังไม่สามารถรับแรงกดดันได้ จนสุดท้ายก็พลาดไป

หรือจะเป็นการเข้ามาพูดกดดันฝ่ายตรงข้ามระหว่างเตรียมตัวสังหาร แน่นอนว่าในการยิงจุดโทษตัดสินมันไม่มีอยู่แล้ว แต่จุดโทษในระหว่างเกมเป็นเรื่องที่เห็นกันเป็นปกติกับการที่นักเตะกรูเข้าไปกดดันฝ่ายตรงข้าม ซึ่งทำให้เห็นว่าเรื่องจิตใจส่งผลมากเพียงใด

ดังนั้นเรื่องของสภาพจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญ นั่นเป็นเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกตัวยิงและเรียงลำดับอย่างพิถีพิถัน โดยต้องคำนึงถึงความล้าของนักเตะที่ต้องเล่นมาถึง 120 นาที ในขณะที่ผู้รักษาประตูเองก็ต้องมีความมั่นใจในการที่จะเลือกพุ่งไปมุมใดมุมนึง โดยอาศัยข้อมูลที่มีการติวกันมาเป็นพิเศษในหัวข้อก่อนหน้านี้

 

แล้วเรื่องดวงละ?

Nervous for A Penalty Kick? Professional Advice and Strategies

มาถึงเรื่องคลาสสิคของกีฬาฟุตบอลลูกกลมๆอะไรก็เกิดขึ้นได้ นอกจากเรื่อง เทคนิค สถิติ และจิตใจจะมีผลสำคัญแล้ว เรื่องดวงเองก็มักถูกเอามาเชื่อมโยงด้วยเช่นเดียวกัน หลายครั้งที่การเตะที่ผ่านการคำนวณ ทำการบ้าน และวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ถึงเวลาจริงๆก็เตะพลาดผิดเหลี่ยมชนเสาชนคานไปอย่างน่าเสียดาย

คำว่า ‘สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง’ เป็นอะไรที่ใช้ได้เสมอ เมื่อในกรอบ 12 หลา กับคนสองคน และ ลูกกลมๆอีกลูกนึง อะไรก็เกิดขึ้นได้แม้จะเตรียมตัวมาได้ดีแค่ไหนก็ตาม อย่างทีมชาติอังกฤษที่เรียกว่าเป็นมหาอำนาจลูกหนัง พวกเขาก็มีปมกับการยิงจุดโทษตัดสิน เมื่อในช่วง 10 เกมล่าสุดบนเวทีระดับเมเจอร์ พวกเขาคว้าชัยไปได้แค่ 3 จาก 7 ครั้งเท่านั้น

หรือจะเป็นในฝ่ายของผู้รักษาประตูเองก็มีตัวอย่างให้เห็นไม่ไกลตัวจากกรณี สมพร ยศ ที่เคยนำ พระเสืออุ้มทรัพย์หลวงพ่ออุทัย ไปแขวนไว้หลังตาข่าย ในเกมฟุตบอล U-23 ชิงแชมป์เอเชีย ที่เสมอกับ ซาอุดิอาระเบีย 1-1 ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นการดวลโทษแต่ในเกมดังกล่าวก็มีจังหวะที่ทีมเสียจุดโทษไปด้วย ซึ่งเจ้าตัวก็สามารถป้องกันได้

แน่นอนว่าการเก็บสถิติมาวิเคราะห์ต่างๆมันช่วยได้ และส่งผลถึงเรื่องจิตใจด้วย แต่เรื่องของความเชื่อโชคดวงเองก็ส่งผลกระทบถึงจิตใจเช่นเดียวกัน ทั้งสามเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวโยงกันไม่ทางใดก็ทางนึง 

ลุ้นจนเหนื่อย : 5 เกมดวลจุดโทษชี้ขาดนานที่สุดในโลก

ดวลจุดโทษ