แม้ดาวเด่นล้นทีม : 10 ทีมดังชวดลุยบอลโลก

แม้ดาวเด่นล้นทีม : 10 ทีมดังชวดลุยบอลโลก

เกิดเหตุการณ์สุดช็อคขึ้นในเกมฟุตบอลโลก 2022 รอบเพลย์ออฟ โซนยุโรป เมื่อแชมป์โลก 4 สมัย และแชมป์ยูโรหนล่าสุด อย่าง อิตาลี พลาดท่าโดน มาซิโดเรียเหนือ ตกรอบแบบไม่คาดฝัน

ตลอด 90 นาที ขุนพล ‘อัซซูรี่’ เป็นฝ่ายโหมบุกแทบจะอยู่ฝั่งเดียว และมีโอกาสยิงประตูมากถึง 32 ครั้ง แต่พวกเขาเปลี่ยนเป็นสกอร์ไม่ได้แม้แต่ลูกเดียว ขณะที่ มาซิโดเรียเหนือ มีโอกาสเพียง 4 ครั้ง แต่เปลี่ยนประตูได้ จาก อเล็กซานดาร์ ทราคอฟสกี้ ในนาทีที่ 92 ส่งผลให้ทีมของ โรแบร์โต้ มันชินี่ ตกรอบ และไม่ได้ไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2 หนติดต่อกันแล้ว

อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทีมใหญ่ระดับโลกต้องอดไปชิงชัยในศึกชิงแชมป์โลก ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA  จึงขอพาไปพบกับ 10 ทีมดังมีสภาพไม่ต่างจาก อิตาลี ซึ่งเกิดจากฟอร์มการเล่น หรือแม้แต่เหตุผลด้านการเมือง

 

อังกฤษ ปี 1974

England's Qualifying Campaigns: 1974 World Cup – Pole-axed by a 'clown' – England Memories

ยุค 70 ถือเป็นยุคที่มืดมนของทีมชาติอังกฤษอย่างแท้จริง เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นทัวร์นาเม้นต์ระดับเมเจอร์ได้เลย ตั้งแต่ปี 1970-1980 และหนึ่งในความผิดหวังมากที่สุดคือการชวดลุยฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่ เยอรมันตะวันตกเป็นเจ้าภาพในปี 1974

ทัพ สิงโตคำราม ทำผลงานได้ไม่ดีนักในรอบคัดเลือก ทำให้ต้องเอาชนะ โปแลนด์ ให้ได้ในเกมนัดสุดท้ายที่ ลอนดอน ทว่า พวกเขากลับทำได้แค่เสมอ 1-1 อีกทั้ง แยน โทมัสเซฟสกี้ นายทวารชาวโปล ที่ถูก ไบรอัน คลัฟฟ์ ดูแคลนว่าเป็นดั่ง ‘ตัวตลก’ กลับโชว์ฟอร์มเซฟปาฏิหารย์จนทีมของ เซอร์ อัลฟ์ แรมซี่ย์ ต้องอดไปชิงชัยทัวร์นาเม้นต์ใหญ่ในวันนั้นทันที

 

ฮอลแลนด์ ปี 1986

OldFootballPhotos on Twitter: "#Netherlands (1986): #JoopHiele #AdriVanTiggelen #RonaldKoeman #RuudGullit #MarcoVanBasten #RobDeWit; #SonnySilooy #PeterBoeve #JanWouters #MichelValke #GeraldVanenburg. https://t.co/UtnixrMrb9" / Twitter

หลังจากไปไม่ถึงฝั่งฝันจบด้วยการรองแชมป์ในฟุตบอลโลกปี 1978 ทีมชาติฮอลแลนด์ก็ปลุกปั้นดาวเตะรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกครั้งในช่วงกลางยุต 1980 โดยมีดาวเด่นอย่าง มาร์โก ฟาน บาสเท่น, แฟรงค์ ไรจ์การ์ด, รุด กุลลิท หรือ ร็อบ เดอ วิต 

อย่างไรก็ตาม ‘อัศวินสีส้ม’ ชุดดังกล่าวกลับพ่ายให้ในรอบเพลย์ออฟให้กับเพื่อนบ้านอย่าง เบลเบี่ยม ด้วยกฎประตูทีมเยือน หลัง จอร์จส์ กรุน ยิงในช่วงท้ายเกมของเลกสอง

 

สหภาพโซเวียต ปี 1978

The Soviet national team missed the 1974 world Cup: it came out in the joints in Chile, but refused to play at the stadium, turned into a concentration camp — lovchev, fifa,

สหภาพโซเวียต ถือเป็นทีมมหาอำนาจในวงการลูกหนังยุคก่อน ทั้งสร้างนักเตะขึ้นมาประดับวงการมากมาย ทั้งในระดับทีมชาติและระดับสโมสร

แม้ ดินาโม เคียฟ สโมสรเบอร์หนึ่งของประเทศ ณ ตอนนั้น (ปัจจุบันคือสโมสรในยูเครน) จะผงาดเป็นเจ้ายุโรปหลังคว้าแชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ ในปี 1975 ที่มีกองหน้าตำนานอย่าง โอเล็ก บล็อกคิน เป็นตัวชูโรง ทว่าในระดับทีมชาติ สหภาพโซเวียต กลับจบอันดับที่ 2 ของกลุ่มที่ 9 ตามหลัง ฮังการี หลังพ่ายให้กับ กรีซ ทีมรองบ่อนสุดช็อก 1-0 

 

อิตาลี ปี 1958

Fog, Punches And Rearranged Qualifiers: Italy's 1958 World Cup Failure – Breaking The Lines

อิตาลี อาจเรียกดาวเตะระดับตำนานของ ยูเวนตุส อย่าง จามปิเอโร่ โบนิแปร์ติ มาติดทีมชาติ แต่ทว่ายุค 1950 กลับเป็นทศวรรษที่ขมขื่นสำหรับ ‘อัซซูรี่’ หลังได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเครื่องบินของ โตริโน่ สโมสรในปี 1949 ซึ่ง กระทิงหินชุดนั้นเต็มไปด้วยผู้เล่นแกนหลักของทีมชาติหลายราย

แต่ด้วยชื่อชั้น หลายคนก็ยังเชื่อว่า อิตาลี จะเอาตัวรอดผ่านเข้ารอบสุดท้ายที่ สวีเดน ได้ในปี 1958 ทว่าท้ายที่สุด พวกเขากลับพ่ายให้กับ ไอร์แลนด์เหนือ ที่เบลฟาสต์ และกลายเป็นยุคมืดของพวกเขาในเวลาต่อมา เนื่องจาก 2 ปีครึ่งต่อจากนั้น พวกเขาไม่ชนะใครได้เลย 

 

โปรตุเกส ปี 1998

World Cup Teams That Never Were: Portugal 1998 | The Welsh Gull

ทีมยุคทองของ โปรตุเกส ที่อุดมไปด้วยยอดแข้ง ทั้ง หลุยส์ ฟิโก้, รุย คอสต้า หรือ ชูเอา ปินโต ทำให้ทีมชุดนี้มีโอกาสในโชว์ฟอร์มปังในฟุตบอลโลกมากที่สุด นับตั้งแต่ ทีม ‘ฝอยทอง’ ในยุคของ ยูเซบิโอ และ มาริโอ โกลูน่า ทำได้ในปี 1966

แต่ชะตากรรมของ โปรตุเกส ในปี 1998 ก็ไม่ต่างกจาปี 1990 และ 1994 หลังไม่สามารถผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายในฝรั่งเศสได้ โดยจบอันดับ 3 ตามหลัง เยอรมัน และ ยูเครน 

 

อังกฤษ ปี 1994

World Cup Countdown: 6 Weeks to Go - Why England Failed to Qualify for the 1994 FIFA World Cup - Sports Illustrated

แกรแฮม เทย์เลอร์ ยังได้โอกาสให้คุมทีมชาติอังกฤษต่อไปแบบไม่น่าเชื่อ ทั้งๆที่เขาล้มเหลวด้วยการทีมตกรอบแบ่งกลุ่มในศึกยูโรปี 1992 ที่สวีเดน เป็นเจ้าภาพ โดยที่ไม่ชนะใครเลยตลอด 3 นัด

และแล้วชะตาของเจ้าของฉายา ‘หัวผักกาด’ ก็ขาดลงในทัพ ‘สิงโตคำราม’ หลังไม่สามารถพาทีมผ่านเข้ารอบสุดท้ายในศึกชิงแชมป์โลกที่สหรัฐอเมริกา ปี 1994 ได้ หลังพ่ายให้กับ นอร์เวย์ และ ฮอลแลนด์ หรือแม้กระทั่งเสียประตูให้กับ ซาน มาริโน่ หลังเริ่มเกมได้ไม่ถึงนาที

 

ยูโกสลาเวีย ปี 1994

ยูโกสลาเวีย ไม่ได้มีส่วนร่วมในเกมรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกปี 1994 เนื่องจากถูกแบนหลังเกิดสงครามในประเทศ ซึ่งนำไปสู่การแยกตัวของ บอสเนีย, โครเอเชีย, สโลเวนีย, มาซิโดเนียเหนือ และ เซอร์เบีย กับ มอนเตเนโกร ในเวลาต่อมา

ณ ช่วงเวลานั้น ยูโกสลาเวีย ถือเป็นทีมที่หลายคนมองว่าแข็งแกร่งที่สุดในโลกด้วยซ้ำ โดยมีดาวเด่นมากมายทั้ง ดราแกน สตอยโควิช, ซโวนิเมียร์ โบบัน, เดยัน ซาวิเซวิช, เดวอร์ ซูเคอร์, ดาร์โก ปานเชฟ, ซินิซ่า มิไฮโลวิช, โรเบิร์ต โปรซิเนคกี้ และ ซเรคโก้ คาตาเนค

 

สกอตแลนด์ ปี 1970

Once upon a time in Argentina: the story of Ally MacLeod and his Tartan Army

ช่วงปลายยุค 60 ไปจนถึงช่วงต้นยุค 70 ฟุตบอลสกอตแลนด์ ได้รับความยำเกรงและความเคารพจากทั่วยุโรป หลัง กลาสโกว เซลติก ผงาดคว้าแชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ ในปี 1967 และ กลาสโกว เรนเจอร์ส ที่คว้าแชมป์ คัพ วินเนอร์ส คัพ ใน 5 ปีต่อมา

นั่นทำให้ทัพ ‘วิสกี้’ แข็งแกร่งไม่แพ้ใคร ด้วยการมีทั้งนักเตะอย่าง จิมมี่ จอห์นสโตน, จอห์น เกร็ก รวมไปถึงผู้เล่นที่ค้าแข้งในอังกฤษอย่าง เดนิส ลอว์ และ บิลลี่ เบรมเมอร์ แต่น่าเสียดายที่พวกเขาจบที่รองแชมป์กลุ่มในรอบคัดเลือกตามหลัง เยอรมันตะวันออก หลังพ่ายไปแบบฉิวเฉียด 2-3 ที่ฮัมบูร์ก

 

ฮอลแลนด์ ปี 2002

ย้อนรอยทีมดังพลาดไป "บอลโลก"

ทีมที่เต็มไปด้วยยอดเยี่ยมหลายราย ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จหรือผ่านเข้ารอบทัวร์นาเม้นต์ใหญ่ๆแบบ 100 เปอร์เซนต์ และมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วมากมาย โดยที่ ฮอลแลนด์ในปี 2002 ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างเหล่านั้น

‘อัศวินสีส้ม’ ณ ตอนนั้น มีทั้ง เอ็ดการ์ ดาวิดส์, คลาเรนซ์ เซดอร์ฟ, รุด ฟาน นิสเดลรอย, มาร์ค โอเวอร์มาร์ส และ ยาป สตัม ทว่าทัพ ‘ออรันเย่’ ในมือของ หลุยส์ ฟาน กัล กลับจบอันดับ 3 ในรอบแบ่งกลุ่ม ตามหลัง โปรตุเกส และ ไอร์แลนด์ ที่พวกเขาพ่ายให้ทีม ยักษ์เขียว แบบเซอร์ไพรส์ 0-1 ที่ดับลิน

 

ฝรั่งเศส ปี 1994

World Cup qualifying: Best teams in history to miss out - Sports Illustrated

ฝรั่งเศส ผงาดขึ้นไปเป็นแชมป์โลกในปี 1998 และก็คงไม่มีใครมั่นใจเต็มร้อยว่าพวกเขาจะคว้าแชมป์ในครั้งนี้ หากย้อนไปดูชะตากรรมของทีมเมื่อ 4 ปีก่อน

ทัพ ‘ตราไก่’ ที่มีทั้ง ฌอง-ปิแอร์ ปาแปง, ดาวิด ชิโนล่า, เอริค คันโตน่า, ดิดิเย่ร์ เดส์ชองส์ และ มาร์เซล เดอไซญี่ เก็บไป 13 จาก ทั้งหมด 16 แต้ม ในรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่ม 6 และดูยังไม่ก็น่าไม่พลาดการลุยศึกชิงแชมป์โลกที่แดนลุงแซม หลังต้องการแค่แต้มเดียวจาก 2 นัดสุดท้ายที่พบกับ อิสราเอล และ บัลแกเรีย ตามลำดับ ทว่ากลับโดนทีมรองบ่อนพลิกล็อคเอาชนะไปได้ทั้ง 2 นัด โดยโดนประตูหมัดน็อคในช่วงทดเวลาทั้ง 2 เกมอีกต่างหาก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

จ่อเปิดซิง : 7 แข้งลุ้นประเดิมทีมชาติหนแรกมีนาคม 2022
จ่อเปิดซิง : 7 แข้งลุ้นประเดิมทีมชาติหนแรกมีนาคม 2022