วิกฤติการณ์ รัสเซีย-ยูเครน ลุกลามสู่สงครามเป็นที่เรียบร้อย เมื่อ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย อนุมัติการใช้ปฏิบัติการทางทหารในภูมิภาคดอนบาส ทางภาคตะวันออกของยูเครนแล้ว
จุดเริ่มต้นของรอยร้าวทั้ง 2 ประเทศก็เกิดขึ้นในปี 2014 จากการที่รัสเซียเข้ายึด ไครเมีย มาเป็นของตัวเอง และความขัดแย้งของ 2 ประเทศนี้ รุนแรงมากขึ้น ไม่มีการการันตีความปลอดภัยของคนรัสเซียถ้าเข้าไปในยูเครน และความปลอดภัยของคนยูเครนถ้าเข้าไปในรัสเซียและเป็นปัญหาก็ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
แน่นอนว่าในวงการฟุตบอลก็ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วย เพราะนับตั้งแต่เหตุการณ์เมื่อปี 2014 ทางสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป ออกกฎว่า สโมสรของสองชาตินี้ จะไม่จับสลากเจอกัน ในถ้วยแชมเปี้ยนส์ลีก, ยูโรป้าลีก และแม้แต่ในฟุตบอลโลก กับฟุตบอลยูโรรอบคัดเลือก เพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และกลายเป็นอริกันเพราะปัญหาด้านการเมืองล้วนๆ
ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA จึงพาทุกท่านไปพบกับคู่แค้นระดับชาติซึ่งอาจเกิดจากการชิงความเป็นหนึ่งในทวีป หรือปัญหาด้านการเมือง ซึ่งเคยสร้างปรากฏการณ์ระดับโลกมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง
อังกฤษ ปะทะ สก็อตเแลนด์
นี่คือน่าจะเป็นคู่แค้นระดับชาติคู่แรกในวงการลูกหนัง ซึ่งทั้งสองชาติต่างแข่งขันและเป็นปรปักษ์กันมานานหลายศตวรรษก่อนจะมีกีฬาชนิดนี้เกิดขึ้นซะอีก โดยคู่อริจากสหราชอาณาจักรพบกันครั้งแรกในวันที่ 30 พฤศจิกายน 1872 ซึ่งจบด้วยผลเสมอ 0-0 ที่กรุงกลาสโกว์ โดยมีแฟนบอลแค่ 4,000 คน แต่ทว่าอีกเกือบ 150 ปีต่อมา ศึก อัลด์ เอเนมี่ย์ (Auld Enemy) ได้ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆและฟาดแข้งกันไปทั้งหมด 111 ครั้งแล้วนับตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกัน
แฟนบอลหลายคนเริ่มรู้ซึ้งถึงความเดือดดาลของเกมคู่นี้มากขึ้นในนัดที่สก็อตแลนด์อาชนะทัพสิงโตคำรามได้ถึงสนามเวมบลีย์เก่า 3-2 ในปี 1967 รวมไปถึงชัยชนะ 2-1 ของแข้งวิสกี้ในอีก 10 ปีต่อมาด้วย
ปัจจุบัน อังกฤษเป็นฝ่ายคว้าชัยชนะได้มากที่สุด 48 ครั้ง ขณะที่สก็อตแลนด์เป็นฝ่ายได้เฮ 41 ครั้ง โดยนัดล่าสุดที่ทั้งคู่ปะทะกันคือ เกมฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก ซึ่งเสมอกันไป 2-2 ในสนามแฮมป์เดน ปาร์ค ในสก็อตแลนด์
บราซิล ปะทะ อาร์เจนติน่า
หากจะให้แฟนบอลเลือกระหว่าง มาราโดน่า และ เปเล่ ใครยอดเยี่ยมกว่า คงจะเป็นเรื่องยากพอสมควร และถ้าถามว่า อาร์เจนติน่า หรือ บราซิล ทีมไหนคือทีมที่ดีกว่ากัน คำตอบก็คงจะยากพอๆกับคำถามแรกเลยล่ะ
ทั้ง 2 ทีมคู่แค้นต่างขับเคี่ยวแย่งชิงความยิ่งใหญ่ในวงการลูกหนังแห่งละตินอเมริกาและระดับโลกมาอย่างยาวนาน เป็นเหตุให้เกมการแข่งขันทั้งคู่มักจะมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจและความขัดแย้งเกิดขึ้นอยู่ตลอด แม้จะเป็นแค่เกมกระชับมิตรก็ตาม รวมถึงการทำประตูมากมายคือสิ่งที่ทัพแซมบ้าและฟ้าขาวมอบให้กับแฟนๆเสมอมา หากทั้งคู่ต้องแข่งขันกัน
เหตุการณ์ที่หลายๆคนจำได้ดีก็คือบอลโลกปี 1982 ที่ ดีเอโก้ มาราโดน่าโดนใบแดงตรงหลังถีบยอดอกใส่ บาติสต้า แข้งบราซิล และแพ้ทัพ ‘เซเลเซา’ ไป 3-1 หรือ เหตุการณ์น้ำศักด์สิทธ์ในบอลโลกปี 1990 ที่บรังโก้ แบ็คซ้ายแซมบ้าออกมาบอกว่ามีผู้เล่นอาร์เจนไตน์หยิบน้ำผสมยากล่อมประสาทมาให้เขาดื่ม และเกมนั้นทีม ‘ฟ้าขาว’ ก็เป็นฝ่ายชนะไปด้วยสกอร์ 1-0
เซอร์เบีย ปะทะ แอลเบเนีย
เกมเกมยูโร 2016 รอบคัดเลือกในวันที่ 14 ตุลาคมปี 2014 กลายเป็นที่จับตาของคนทั้งโลก เพราะประเทศที่แข่งขันกันอย่าง เซอร์เบีย และ แอลเบเนีย ต่างมีปัญหาขัดแย้งกันมาเป็น 10 ปี ทั้งในเรื่องเชื้อชาติ รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติ โดยเฉพาะประเด็น รัฐโคโซโว ซึ่งส่วนมากมีชาวแอลเบเนียได้อาศัยอยู่ ได้ทำสงครามการเมืองกับ เซอร์เบีย จนได้รับเอกราชในปี 2008
แต่ก็ไม่มีใครคิดว่าเกมนั้น อิซมาอิล โมริน่า จะบังคับเครื่องบินโดรนพร้อมปล่อยธงชาติลงกลางสนาม ปาร์ติซาน เบลเกรด ซึ่งป้ายแสดงข้อความทางการเมือง จนเกิดความวุ่นวายทั่วทั้งสนาม และกรรมการต้องยุติเกมการแข่งขันนัดในนั้นลง
ต่อมา สมาพันธ์ฟุตบอลยุโรปหรือยูฟ่าได้ประกาศบทลงโทษสำหรับเหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้น โดยทีมเยือนอย่างอัลแบเนียถูกปรับแพ้ไป 3-0
ทั้งโลกต่างเฝ้ามองคู่นี้อีกครั้งในอีก 1 ปีต่อมา แต่ด้วยการป้องกันที่รัดกุมและแน่นหนากว่าเดิมทำให้ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไรเกิดขึ้นอีก ซึ่งแข้งชาวเซิร์บเป็นฝ่ายชนะไป 2-0 อย่างไรก็ตาม คงเป็นเรื่องยากมากๆที่แฟนบอลจะเห็นทั้งคู่จะกลับมาพบกันอีกในการแข่งขันเกมลูกหนังในเร็วๆนี้
ญี่ปุ่น ปะทะ เกาหลีใต้
การแย่งชิงความยิ่งใหญ่ในเอเชียไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ต้องห่ำหั่นกันอย่างดุเดือดในเกมลูกหนัง แต่เป็นเพราะเรื่องการเมืองต่างหากที่ทำให้เป็นเช่นนี้ หลังในอดีตกองกลางแดนอาทิตย์อุทัยเข้ายึดครองประเทศเกาหลีเดิมในปี 1910 ถึงปี 1935
ตั้งแต่นั้นความเป็นคู่แข่งคู่แค้นก็เพิ่มขึ้นและลามมาถึงการแข่งขันฟุตบอล เมื่อทัพ ‘ซามูไร’ ไม่สามารถเข้าไปประเทศเกาหลีใต้ในปี 1954 เพื่อแข่งขันฟุตบอลโลกรอบเพลย์อ็อฟ ทำให้ต้องแข่งขันกันที่ญี่ปุ่นทั้ง 2 นัด แต่ฝ่ายโสมขาวก็เอาชนะได้ด้วยสกอร์รวม 7-3
หรืออีกเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับทั้งสองทีมอย่าง ปาฏิหารย์ที่กรุงโดฮา (หรือเรื่องสุดเศร้าที่กรุงโดฮา สำหรับแฟนบอลญี่ปุ่น) เมื่อทีมชาติอิรักยิงประตูตีเสมอทีมจากแดนปลาดิบได้ในนาทีสุดท้าย ซึ่งส่งผลให้ ‘นักรบแทกุก’ ผ่านเข้ารอบไปเล่นในฟุตบอลโลกปี 1994 รอบสุดท้าย ด้วยลูกได้เสียที่กว่า
อียิปต์ ปะทะ แอลจีเรีย
“มันคือการต่อสู้ ไม่ใช่แค่เกมฟุตบอล” กองหน้าชาวแอลจีเรียอย่าง อิมาน ยูเนซ กล่าวเอาไว้หลังที่ทีมของเขาพ่ายต่ออิยิปต์ไปด้วยสกอร์รวม 1-0 ชวดไปฟุตบอลโลกปี 1990 ที่อิตาลีอย่างน่าเสียดาย และคำพูดนั้นดูไม่ใช่เรื่องเกินจริงนัก เมื่อเหตุการณ์ดุเดือดได้เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2009
ทั้งสองทีมกลับมาพบกันอีกครั้งในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก โดยที่แอลจีเรียเอาชนะไปได้ 3-1 ในนัดแรก แต่ทัพ ‘มัมมี่’ ก็เอาชนะมาได้ 2-0 ในบ้านของตัวเอง บวกกับแต้มและลูกได้เสียดันเท่ากันแบบไม่น่าเชื่อ ทำให้ต้องพวกเขาต้องตัดสินกันอีกนัดเพื่อตั๋วฟุตบอลโลกใบสุดท้ายในทวีปแอฟริกา
และสุดท้ายก็เป็นฝ่ายแอลจีเรียเอาชนะทีมคู่แค้นไปได้ 1-0 ที่สนาม อัล เมอร์เรอิก ประเทศซูดาน ผ่านเข้ารอบไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้ครั้งแรกในรอบ 23 ปี
เยอรมัน ปะทะ ฮอลแลนด์
นี่คือภาพจำของแฟนบอลทั่วโลกหลัง แฟรงค์ ไรจ์การ์ด นักเตะดังของทีมชาติฮอลแลนด์ ถุยน้ำลายใส่ รูดี้ โฟลเลอร์ หัวหอกทีมชาติเยอรมันในศึกฟุตบอลโลก 1990 ที่อิตาลี แต่ทว่าการแก่งแย่งชิงดีกันของทั้งสองทีมก็ไม่ได้เพิ่งเริ่มขึ้นในตอนนั้น เพราะพวกเขาเคยฟาดแข้งกันตั้งแต่ปี 1910 แล้ว
แต่ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันหนักข้อขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเยอรมันเข้ายึดครองประเทศฮอลแลนด์ ทำให้ความรู้สึกต่อต้านของชาวดัชต์ที่มีต่อชาวด้อยช์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
อีกช่วงสำคัญที่หลายคนจดจำในโลกลูกหนังก็คือ ทีม ‘อัศวินสีส้ม’ ในปี 1974 นั้นเพรียบพร้อมไปด้วยระบบการเล่นที่ล้ำยุคกว่าใครและนักเตะที่ฝีเท้าระดับโลกอย่าง โยฮัน ครัฟฟ์, โยฮัน นีสเก้นส์, ร็อบบี้ เรนเซนบริงค์ และ รุด โครล์ ก็ยังพ่ายให้กับทัพ ‘อินทรีเหล็ก’ ในนัดชิงฟุตบอลโลกปีนั้นไปด้วยสกอร์ 2-1
ฮอนดูรัส ปะทะ เอล ซัลวาดอร์
ปัญหาเรื่องการเมืองเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศต่างๆต้องประสบพบเจอกับการทำสงครามอยู่เสมอๆ ซึ่งฮอนดูรัสและ เอล ซัลวาดอร์ก็ไม่ต่างกัน แต่ถึงอย่างนั้นนี่ถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากๆ เพราะในเกมฟุตบอลพวกเขาพบกันมาแล้วถึง 53 ครั้งนับตั้งแต่ปี 1969
แต่ในช่วงนั้นทั้งสองประเทศได้เกิดปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและสังคมที่ตึงเครียดมาเป็นเวลานาน ก่อนที่มันจะระเบิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 รอบคัดเลือก ถึง 3 นัด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่หลายคนรู้จักกันว่า สงครามลูกหนัง (Football War)
เอล ซัลวาดอร์ เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 3-2 ในนัดที่สาม ซึ่งแข่งขันกันที่สนามในประเทศเม็กซิโก และในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ก็ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับฮอนดูรัสซะเลย ทำให้ทั้งสองประเทศแตกหักและก่อสงครามของจริงหลังจากวันนั้น ซึ่งแม้จะยิงกันแค่ 5 วัน แต่ทางกองกำลังเอลซัลวาดอร์ก็ยังตรึงกำลังในฮอนดูรัสอยู่เกือบ 2 สัปดาห์
จนถึงวันที่ 18 กรกฏาคม ปี 1969 ในที่สุด สงครามจากทั้งสองฝ่ายก็จบลง เนื่องจากองค์การนานารัฐอเมริกันเข้ามาแทรกแซงสงคราม โดยครั้งนั้นมีผู้สังเวยชีวิตไปกว่า 3,000 ศพ
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าฟุตบอลจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามนี้มากน้อยแค่ไหน นี่ก็คือโศกนาฏกรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้นจริงๆ
อเมริกา ปะทะ เม็กซิโก
ความเป็นคู่แข่งของทั้งคู่แม้จะไม่ดุเดือดเท่าเมื่อก่อน แต่กลิ่นเหล่านั้นก็ยังไม่จางหายไปไหน เพราะอเมริกาค่อยๆตีตื้นขึ้นมาเป็นทีมชั้นนำโซนคอฟคาเคฟในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเอาชนะเม็กซิโกได้ถึง 22 เกมที่พบกันจากทั้งหมด 73 นัด ขณะที่ทัพ ‘จังโก้’ เป็นฝ่ายคว้าชัยได้ 36 นัด
ยุคก่อนนั้น อเมริกาไม่ต่างอะไรจากลูกไล่ของเม็กซิโกในวงการลูกหนัง เพราะนับตั้งแต่ชัยชนะในเกมแรกที่พบกันเมื่อปี 1934 ต่อจากนั้นแข้งแยงกี้ก็ไม่สามารถเอาชนะทีม ‘จังโก้’ ได้เลยและแพ้ไปยาวนานถึง 22 จาก 25 นัด แถมในปี 1975 ยังโดนเม็กซิโกถล่มไปอีก 8-0 ทั้งที่เป็นนัดกระชับมิตรแท้ๆ จนกระทั่งปี 1979 อเมริกาก็กลับมาคว้าชัยชนะครั้งที่ 2 ได้ ก่อนค่อยๆพัฒนาเกมลูกหนังในประเทศให้เทีบบชั้นคู่แข่งร่วมทวีปได้แล้วในตอนนี้