อิหร่าน ถือเป็นหนึ่งในชาติเบอร์ต้นๆในทวีปเอเชีย และเจ้าของแชมป์ เอเชี่ยน คัพ 3 สมัย ก็ถือเป็นทีมขาประจำจากเอเชียที่ได้เข้ามาเล่นฟุตบอลโลกบ่อยๆในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ตลอด 5 ครั้งก่อนหน้านี้ที่ทีม ‘เมลลี’ ได้เข้ามาเล่นรอบสุดท้าย ไม่มีครั้งไหนที่พวกเขาไปไกลเกินกว่ารอบแบ่งกลุ่ม ไม่แปลกที่เป้าหมายของพวกเขาในบอลโลกที่กาตาร์ คือการผ่านเข้าไปเล่นในรอบน็อคเอ้าท์ให้ได้
ทว่าพวกเขาจะทำอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ UFA ARENA จะพาไปสำรวจความพร้อมของ อิหร่าน และเส้นทางอุปสรรคต่างๆก่อนที่พวกเขาจะมาลุยศึกใหญ่ในเดือนพฤศจิกายนนี้
ประวัติศาสตร์ในบอลโลก
อิหร่าน ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นครั้งที่ 6 หากนับทัวร์นาเม้นต์ที่ กาตาร์ ด้วย โดยผ่านเข้ามาเล่นครั้งแรกในปี 1978 ที่อาร์เจนติน่า เป็นเจ้าภาพ
จากนั้นอีก 20 ปีต่อมา ก็ได้ลุยบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นหนที่ 2 ในฝรั่งเศส ก่อนได้ลงเล่นรอบสุดท้ายอีก 3 ครั้งในช่วง 20 ปีหลังจากนั้น แต่ไม่มีครั้งไหนที่ไปไกลเกินกว่ารอบแบ่งกลุ่ม เนื่องจากหยุดตัวเองเอาไว้แค่เพียงรอบแรกทุกครั้ง
อย่างไรก็ตามผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาเกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อนในรัสเซีย ที่พวกเขาเก็บได้ถึง 4 คะแนน ด้วยการเอาชนะโมร็อคโค และยันเสมอ โปรตุเกส ได้ แถมยังแพ้ให้กับ สเปน แบบฉิวเฉียดเท่านั้น
เส้นทางสู่กาตาร์
ในรอบคัดเลือก อิหร่าน เป็นหนึ่งในทีมที่โชว์ฟอร์มได้ไฉไลสุดๆในกลุ่ม A หลังชนะไปถึง 8 จาก 10 นัด และแพ้แค่เกมเดียวให้กับ เกาหลีใต้ โดยซัดไปถึง 15 ประตู และเสียแค่ 4 ลูก
ฟอร์มดังกล่าวทำให้ ทัพ ‘เมลลี’ การันตีตั๋วไปบอลโลกตั้งแต่เนิ่นๆร่วมกับ ‘โสมขาว’ แล้ว เพียงแต่การเอาชนะ เลบานอน 2-0 ได้ในเกมสุดท้าย ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์กลุ่มไปครอง เหนือ เกาหลีใต้ ที่พลิกล็อคพ่าย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 1-0
ผู้จัดการทีม : คาร์ลอส เคยรอซ
เชื่อว่าแฟนบอลส่วนใหญ่ คงค้นหน้าคุ้นตา คาร์ลอส เคยรอซ กุนซือของ อิหร่าน เป็นอย่างดี เนื่องจากเขาเคยเป็นอดีตมือขาวของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ใน แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พร้อมเคยคุม เรอัล มาดริด มาแล้วด้วย แม้ไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม
นี่ถือเป็นหนที่ 3 แล้วที่กุนซือชาวโปรตุกีส พาทีม ‘เมลลี’ ผ่านเข้ามาเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้ หลังเคยทำได้มาแล้วในปี 2014 ที่บราซิล และ ปี 2018 ที่รัสเซีย
เชื่อว่าเป้าหมายของ เคยรอซ และแข้งอิหร่าน คือการผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายให้ได้เป็นครั้งแรกแน่นอน
ดาวเด่น : ซาร์ดาร์ อัซมูน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ยินชื่อ หรือเห็นฝีเท้าของ ซาร์ดาร์ อัซมูน มาบ้างไม่มากก็น้อย และสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาถูกพูดถึงในวงการฟุตบอลของเอเชียก็คือสมญานามว่า เขาถือเป็น เมสซี่แห่งอิหร่าน เลย โดยเฉพาะในช่วงที่สร้างชื่อใหม่ๆจนได้ย้ายมาค้าแข้งในยุโรป ทั้งกับ รอสตอฟ, รูบิน คาซาน หรือ เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก
ปัจจุบัน ดาวเตะวัย 27 ปี ย้ายไปค้าแข้งกับ ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น ในช่วงต้นปี 2022 ซึ่งแม้ผลงานยังไม่เข้ารูปเข้ารอย แต่ก็ยังเป็นกำลังสำคัญที่ทัพ ‘เมลลี’ ขาดไม่ได้ หลังผู้ทำประตูสูงสุดของทีมชาติอิหร่านชุดนี้ ด้วยการทำไปถึง 41 ประตูจากการรับใช้ชาติ 65 นัด
แต่ อัซมูน ก็ไม่จำเป็นต้องแบกทีมเพียงคนเดียว เพราะในชุดนี้ยังมี เมห์ดี้ ตาเรมี่ กองหน้าจากเอฟซี ปอร์โต้ และ อลิเรซา ยาฮานบาคช์ หอกจาก เฟเยนูร์ด ที่เป็นกำลังหลักของทีมมาตั้งแต่ที่รัสเซีย และเป็นดาวซัลโวของทีมร่วมกันในรอบคัดเลือก ช่วยกันทำไปคนละ 4 ประตู พร้อมคอยช่วยกันสานฝันของทีมชาติไปไกลกว่าที่เคย
ตารางแข่งขัน
อิหร่าน จะเจองานหนักตั้งแต่เกมแรกด้วยการดวลกับ อังกฤษ ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ก่อนไปดวลกับ เวลส์ ในอีก 4 วันต่อมา พร้อมปิดท้ายด้วยการดวลกับ สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 29 พฤศจิกายน
วิเคราะห์โอกาสเข้ารอบ
เป้าหมายของ อิหร่าน ในฟุตบอลโลกครั้งนี้ชัดเจนมากๆ นั่นก็คือการผ่านเข้ารอบน็อคเอ้าท์ให้ได้ และหากไปไกลถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก็ถือเป็นความสำเร็จของทีมชาติในชุดนี้แล้ว
เพียงแต่ว่าการจะคว้าอันดับ 1 ในกลุ่ม B คงเป็นเรื่องยากเกินไป เพราะดูเหมือนว่าอังกฤษ จะตีตราจองไว้ก่อนแล้ว หากพวกเขาไม่สะดุดขาตัวเองเสียก่อน
นั่นทำให้ทัพ เมลลี น่าจะต้องมาแย่งอันดับ 2 กับ เวลส์ และ อเมริกา ที่มีขนาดทีมพอฟัดพอเหวี่ยงกัน ซึ่ง 2 เกมนี้อาจตัดสินได้เลยว่าพวกเขาจะได้ไปถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายอย่างที่ฝันหรือไม่