no way home! ทำไมแชมป์ถึงไม่กลับไปอังกฤษอีกเลยนับแต่ปี 66

ทีมชาติอังกฤษ

ทีมชาติอังกฤษถือเป็นชื่อต้นๆเวลาที่จะนึกถึงทีมสักทีมที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในระดับทีมชาติ พวกเขามีนักเตะสอดแทรกขึ้นมาประดับวงการมากมาย แต่สุดท้ายโทรฟี่ฟุตบอลก็ไม่เคยกลับไปหาพวกเขาอีกเลยนับตั้แต่ปี 1966 ซึ่งเป็นแชมป์รายการแรกและรายการเดียว สวนทางกับในระดับสโมสรที่ลีกแดนผู้ดีถือเป็นหนึ่งในลีกที่ดีที่สุดในโลก

วันนี้ UFAARENA จะพาไปวิเคราะห์สาเหตุที่ทีมชาติอังกฤษไม่เคยไปได้ถึงการคว้าถ้วยแชมป์ ทั้งที่ลีกในประเทศเป็นอันดับต้นๆของโลกลูกหนัง ทั้งในด้านความแกร่งและความนิยม

 

ทุนนิยมในลีก

About the Premier League - Organising Body of the Competition

ฟุตบอลในประเทศอังกฤษถือเป็นกีฬาที่มีเม็ดเงินลงทุนมากที่สุดในโลก แต่ละทีมตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับสูงต่างมีเป้าหมายชัดเจน ซึ่งทุกเป้าหมายไม่สามารถรอได้ จริงอยู่ที่ระบบของฟุตบอลอังกฤษมีการปั้นดาวรุ่งขึ้นมาใช้งานอยู่แล้ว แต่อย่างที่บอกว่ามันรอเวลาไม่ได้การปั้นนักเตะขึ้นมาใช้มันไม่ทันการสำหรับทีมบนเวทีพรีเมียร์ลีก หรือแม้กระทั่งเดอะ แชมเปี้ยนส์ชิพ เราก็จะเห็นการใช้เม็ดเงินดึงนักเตะและโค้ชจากหลายชาติเข้ามาเพื่อเสริมในจุดด้อย

ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้บรรดานักเตะดาวรุ่งหลายรายไม่ได้รับโอกาส จะเห็นได้จากนักเตะทีมชาติอังกฤษชุด U17 ที่สามารถคว้าแชมป์โลกได้เมื่อปี 2017 มีที่ขึ้นมาติดทีมชุดใหญ่ในปัจจุบันได้เพียงแค่ ฟิล โฟเด้น รายเดียวเท่านั้นที่ได้มาลุยฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้ 

FIFA U-17 World Cup: Long term vision to win senior World Cup, says Cooper  - myKhel

ส่วนคนอื่นๆที่ยังคงเล่นในระดับสูงก็มีแค่ เอมิล สมิธ-โรว์ , คอเนอร์ กัลลาเกอร์ , อังเคลล โกเมส , คัลลั่ม ฮัดสัน โอดอย และ จาดอน ซานโช่ เท่านั้น ส่วนรายอื่นๆไม่ค้าแข้งอยู่ในทีมรองๆ ก็กลายเป็นฟรีเอเย่นต์ หรือบางส่วนก็เปลี่ยนสัญญาไปเล่นให้ทีมชาติอื่นแทน

 

ความยึดติด และการแข่งขัน

Zaha hits back at speculation over Ivory Coast future

การมีนักเตะชั้นแนวหน้าขึ้นมาประดับวงการเรื่อยๆ ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่สำหรับทีมชาติอังกฤษกลับเป็นดาบสองคมเมื่อพวกเขาโหยหาความสำเร็จทำให้ต้องยึดติดกับตัวนักเตะเดิมๆเพื่อสานต่อความต่อเนื่อง จึงทำให้การจัดทีมในแต่ละทัวร์นาเม้นท์ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเท่าไรนัก บรรดานักเตะดาวรุ่งที่เคยเล่นให้ทีมชาติในชุดเล็กก็ไม่ได้มีโอกาสสอดแทรกขึ้นมาได้เช่นเดียวกับในระดับสโมสร

นอกจากนี้การที่ยึดติดกับนักเตะตัวหลักเดิมๆเพื่อความสำเร็จแล้ว  การที่มีนักเตะผุดขึ้นมาเรื่อยๆก็ทำให้การแข่งขันภายในทีมสูงขึ้นด้วย และจากสาเหตุนี้เราจะได้เห็นนักเตะฝีเท้าดีที่มีสัญชาติอื่นด้วย หลายรายอดรนทนไม่ไหวที่จะก้าวขึ้นไปติดทีมชาติชุดใหญ่ และเปลี่ยนไปรับใช้ชาติอื่นแทนที่นอกจากจะทำผลงานได้ดีแล้ว ยังกลายเป็นกำลังหลักด้วยซ้ำ

 

การส่งออกนักเตะ

Looking back at why Michael Owen failed at Real Madrid

จริงอยู่ที่อังกฤษเป็นประเทศที่มีนักเตะเป็นที่รู้จักหลายราย แต่นั่นก็ต้องคิดไปถึงความนิมยมของพรีเมียร์ลีกด้วย ทำให้นักเตะหลายรายเป็นที่คุ้นชื่อ คุ้นหน้าคุ้นตากันดี และเมื่อเป็นลีกที่ถือว่าเป็นแนวหน้าของโลกลูกหนัง มันเลยเป็นจุดหมายของนักเตะหลายรายมากกว่าที่จะเป็นจุดเริ่ม ทำให้บรรดานักเตะที่เกิดจากลีกแดนผู้ดี ก็ไม่ได้คิดจะย้ายออกไปที่อื่นมากนัก

Teenage wonder Jude Bellingham in prime position to drive England forward |  Financial Times

ส่วนนักเตะที่เลือกจะออกไปหาความท้าทายนอกประเทศ ก็มีไม่กี่รายที่ประสบความสำเร็จ หรือไม่งั้นก็ต้องเป็นนักเตะดาวรุ่งที่ย้ายไปฝึกฝีเท้าต่างประเทศตั้งแต่เด็กแล้วค่อยกลับมาโด่งดังในประเทศทีหลัง การส่งออกนักเตะไปต่างประเทศ เลยเป็นจุดอ่อนในเรื่องของประสบการณ์ความหลากหลายที่แค่การไปเล่นในเวทียุโรปกับสโมสรไม่เพียงพอ

 

วัตถุดิบดีแต่ไม่เคยถึงฝัน

United legend Scholes says Lampard and Gerrard were better

อย่างที่บอกไปว่าทีมชาติอังกฤษ มีนักเตะชื่อดังขึ้นมามากมายในทุกตำแหน่ง แต่กลับไม่เคยไปถึงฝันเลยสักยุค สาเหตุนึงมันก็อาจจะมาจากดวง ที่พวกเขามักไปเจอกับก้างชิ้นใหญ่แบบพวกตัวเต็งเสมอ แต่อีกสาเหตุนึงคือตัว ผู้จัดการทีมไม่สามารถปรุงแต่งวัตถุดิบชั้นยอดให้เข้ากันได้

พวกเขาเคยมีนักเตะชั้นยอดอัดแน่นอยู่ในทีมแต่ด้วยความที่ในฟุตบอลอังกฤษ แต่ละทีมมีเอกลักษณ์แตกต่างกันค่อนข้างมาก ไล่ไปตั้งแต่ทีมเล็กยันทีมใหญ่ ทำให้เมื่อถูกนำมารวมกันในระดับทีมชาติทำให้ความเข้าใจ และความเข้าขาต้องมาปรับกันยกใหญ่ และเมื่อผู้จัดการทีมไม่สามารถปรับให้ทุกคนเล่นกันได้ หรือหาระบบที่จะเค้นศักยภาพของนักเตะออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ทำให้ผลงานไม่เคยไปถึงความสำเร็จ

ทีมชุดปัจจุบันนับเปนตัวอย่างที่ชัดเจนของการที่นักเตะแต่ละคนนับเป็นระดับเวิลด์คลาสทุกๆตำแหน่ง นักเตะบางคนเล่นในสโมสรไม่ได้ดี แต่ก็มาเรียกฟอร์มแกร่งกับทีมชาติได้ นักเตะแต่ละคนทำผลงานส่วนตัวได้อย่างยอดเยี่ยม แต่กับการเล่นเป็นทีม เรื่องแท็คติค และการแก้เกมถือเป็นจุดอ่อนของพวกเขาที่เห็นได้ชัด

 

เชฟดีไม่พอปรุงวัตถุดิบ?

Roy Hodgson: Crystal Palace boss 'undecided' over his future | Football  News | Sky Sports

ถ้าหากว่านักเตะคุณภาพคับแก้วอยู่เต็มในทุกยุคทุกสมัยแล้ว คนที่จะถูกเพ่งเล็งและวิจารณ์ก็เห็นจะเป็นผู้จัดการทีมที่จะเป็นคนผสมวัตถุดิบชั้นยอดเหล่านี้ให้รวมกันได้ แต่อย่างที่บอกว่าอังกฤษ มีคุณภาพแต่ไม่เคยเล่นเข้าขากันเลย จุดอ่อนของพวกเขามักเกิดขึ้นจากแท็คติคตั้งแต่เริ่มเกม ไปจนถึงการแก้ไขสถานการณ์ระหว่างเกม ที่ไม่มีประสิทธิภาพเลย

อย่างที่ชี้ให้เห็นไปว่านอกจากนักเตะที่ไม่ได้มีโอกาสสอดแทรกขึ้นมาจากระบบของลีกที่ต้องการความสำเร็จแล้ว ผู้จัดการทีมก็เช่นเดียวกัน แต่ที่แตกต่างคือในตำแหน่งกุนซือแดนผู้ดีไม่ได้ผลิตโค้ชชั้นยอดออกมามากมายขนาดนั้น ยิ่งไม่ได้โอกาสขึ้นมาประสบความสำเร็จในลีกยิ่งแล้วใหญ่ คุณภาพที่ไม่สามารถสู้โค้ชชาติอื่นได้ ดังนั้นการใช้โค้ชในประเทศที่ผ่านมา ก็แทบไม่มีใครเป็นมือฉมังเลยสักราย

Ex-England manager Capello eager to test Three Lions' World Cup theory |  Goal.com

หรือจะหันไปหาโค้ชต่างชาติอย่าง ฟาบิโอ คาเปลโล่ และ สเวน โกรัน อิริคสัน ที่ทำผลงานได้ดูเป็นชิ้นเป็นอันมากที่สุด แต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึงฝัน เนื่องจากสไตล์การทำทีมที่มีความแตกต่างกัน แถมทั้งคู่ยังไม่เคยคุมทีมในอังกฤษด้วย ความเข้าใจไม่ว่าจะแนวทางการเล่นและตัวนักเตะก็เรียกว่าแทบจะเป็น 0 จะเห็นได้ว่าหากทีมชาติอังกฤษอยากประสบความเร็จคงต้องผลักดันผู้จัดการทีมชาวอังกฤษมากกว่านี้

โดนเมินประจำ: 10 แข้งปัดโอกาสเล่นในทีมชาติอังกฤษ

โดนเมินประจำ: 10 แข้งปัดโอกาสเล่นในทีมชาติอังกฤษ