ตระกูลเกลเซอร์ เป็นหนึ่งในเจ้าของทีมกีฬาที่เป็นที่ถกเถียงของแฟนๆมากที่สุด นับตั้งแต่เข้าเทคโอเวอร์ แมนฯยูไนเต็ด ในเดือนพฤษภาคมปี 2005 เนื่องจากความผิดพลาดทางการเงินหลายครั้งได้ทำให้พวกเขามีปัญหา
แฟนบอลและเหล่ากูรูวิเคราะห์เกมจำนวนมากวิจารณ์ทัศนคติของตระกูลนักธุรกิจชาวอเมริกัน ที่มีต่อสโมสรและกล่าวหาว่าพวกเขาใช้ ปีศาจแดง เพื่อสร้างรายได้มากกว่าใช้ในสโมสร
ล่าสุ คีแรนแม็คไกวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินในวงการฟุตบอลได้วิเคราะห์ตัวเลขการใช้จ่ายภายใต้ทีม ตระกูล เกลเซอร์ และความจริงที่น่าตกใจบางอย่างก็ถูกเปิดเผย
ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA จะพาไปพบกับ 7 ตัวเลขชวนช็อคของ แมนฯยูไนเต็ด ในยุคที่ตระกูล เกลเซอร์ ครองอำนาจบริหารใน โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด
การสร้างรายได้
Under the Glazer family Manchester United have generated £7,591,000,000 from ticket sales and have turned the club into a commercial giant. How has the money been spent? pic.twitter.com/hQsxbzwXZK
— Kieran Maguire (@KieranMaguire) February 20, 2023
โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เป็นสโมสรที่ใหญ่ที่สุดใน พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ด้วยความจุสนามราวๆ 74,000 ที่นั่ง ซึ่งเป็นตัวเลขเฉลี่ยในเกมแมตช์เดย์ และนี่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับสโมสรตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ภายใต้การดูแลของ เกลเซอร์ ยูไนเต็ด สร้างรายได้มหาศาลถึง 7.5 พันล้านปอนด์ในการขายตั๋วและช่องทางการค้าอื่นๆ เนื่องจากแบรนด์ของสโมสรเติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ
วิธีที่พวกเขาใช้เพื่อสร้างรายได้ที่สร้างขึ้นจะทำให้คุณตกใจ
ค่าเหนื่อยนักเตะ
The Glazers inherited an annual wage bill of £77m, this has increased five times since 2005 and is now the highest in the PL with the average weekly wage now £178k pic.twitter.com/650sKPwbnf
— Kieran Maguire (@KieranMaguire) February 20, 2023
ค่าจ้างพุ่งสูงขึ้นในวงการฟุตบอลตั้งแต่ปี 2005 แต่พรีเมียร์ลีกกลับเติบโตอย่างไม่มีใครเหมือน โดยบิลค่าเหนื่อยประจำปีของ แมนฯยูไนเต็ด อยู่ที่ 77 ล้านปอนด์ ตอนที่พวกเกลเซอร์เข้ามาคุมบริหารทีม และเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ตอนนี้ ‘ปีศาจแดง’ มีค่าเหนื่อยสูงที่สุดในพรีเมียร์ลีก โดยมีค่าเหนื่อยเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 178,000 ปอนด์ และ ดาบิด เด เคอา เป็นนักเตะที่มีรายได้สูงสุดของพวกเขา กับค่าเหนื่อย 375,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ตามรายงานของ Salary Sport
ยูไนเต็ด เคยทำผิดพลาดในการยื่นข้อเสนอก้อนโต้ในอดีตผู้เล่นที่ทำผลงานไม่คุมกับที่สโมสรจ่ายไป นี่คือสิ่งที่ เอริค เทน ฮาก กระตือรือร้นที่จะควบคุมในเวลานี้
รายได้ของบอร์ด
It's not just the players who have been rewarded, with the board earning £129 million during that period and the highest paid director peaking at just over £4.1m in 2017/18, perhaps as a bonus for…errr…reaching the final of the UEFA Super Cup? pic.twitter.com/p1gCFBNlqw
— Kieran Maguire (@KieranMaguire) February 20, 2023
เหล่าสมาชิกในคณะกรรมการเองก็มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2005 เช่นกัน การจ่ายเงินให้กับสมาชิกคณะกรรมการเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าในบางช่วงตั้งแต่ปี 2005
รายได้ของบอร์ดบริหาร พีกสุดๆในปี 2018 เนื่องจาก ผู้อำนวยการที่ได้รับค่าตอบแทนสูงสุดถึง 4.1 ล้านปอนด์สำหรับบทบาทของเขาที่สโมสร หรือคิดเป็นค่าเหนื่อย 80,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าสตาร์ดังในพรีเมียร์ลีกหลายรายเลย
รายได้ของผู้ให้กู้ยืม
Lenders have been major beneficiaries of the Glazers period of ownership, trousering £917 million in interest payments in loans that earned up to 14.25% interest. Shareholders (some of whom may have the surname Glazer) have 'earned' £167 million during the period too. pic.twitter.com/whG7wVi1oz
— Kieran Maguire (@KieranMaguire) February 20, 2023
ผู้ให้กู้ยืม อาจได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเป็นเจ้าของ แมนฯยูไนเต็ด ของ เกลเซอร์ เนื่องจากพวกเขาได้รับชำระดอกเบี้ย 917 ล้านปอนด์สำหรับเงินกู้ยืมที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 14.25% ผู้ถือหุ้นซึ่งหลายคนใช้นามสกุล เกลเซอร์ มีรายได้ 167 ล้านปอนด์ในช่วงเวลานั้น
แม้กระนั้นก็ตาม ยูไนเต็ด ประสบกับการสูญเสียเงินโดยรวม 354 ล้านปอนด์ในยุคของ เกลเซอร์ ซึ่งน่าประหลาดใจเมื่อพิจารณาว่าพวกเขาบันทึกผลกำไรในพรีเมียร์ลีกที่ 278 ล้านปอนด์ตั้งแต่ปี 1992-2005 ก่อนที่ตระกูลนักธุรกิจจากอเมริกาจะมีส่วนร่วม
การใช้จ่ายที่ไม่ดี
Manchester United have been active in the transfer market under the Glazers, spending over £2 billion on players, but only recovering a quarter of that from sales pic.twitter.com/NlkMbc6M6G
— Kieran Maguire (@KieranMaguire) February 20, 2023
กลยุทธ์การสรรหาบุคลากรของ ยูไนเต็ด ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกัน เนื่องจากพวกเขามักลงทุนในผู้เล่นโดยไม่เห็นผลตอบแทนทางการเงินมากนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ในยุคเกลเซอร์ พวกเขาใช้เงินมากกว่า 2 พันล้านปอนด์ ในการเสริมทัพผู้เล่นใหม่เข้ามา และได้เงินกลับมาจากการขายเพียง 1 ใน 4 ของเงินที่จ่ายไปเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นดีลของ ปอล ป็อกบา หรือ อังเคล ดิ มาเรีย ที่แฟนๆ ‘ปีศาจแดง’ หลายคนมองว่าล้มเหลวอย่างไร้ข้อโต้แย้ง
โครงสร้างพื้นฐานของสนามกีฬา
One area where money has not been spent is on the stadium, as under both Project Big Powergrab and SuperLeague capital projects would be funded centrally. Leaking roof, seats too small to sit in, crammed concourses are the legacy…unless you are in the corporate seats obvs pic.twitter.com/pYQhuZaZtx
— Kieran Maguire (@KieranMaguire) February 20, 2023
การขาดการลงทุนใน โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เป็นประเด็นที่แฟน ๆ ปีศาจแดง พูดกันบ่อยๆ โดยทีมรักของพวกเขาอยู่ในอันดับที่ 8 ในพรีเมียร์ลีกสำหรับการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ปี 2010 โดยมีการลงทุนเพียง 98 ล้านปอนด์ในด้านนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แกรี่ เนวิลล์ ตำนานแข้งของยูไนเต็ด ที่วิพากษ์วิจารณ์ตระกูล เกลเซอร์ และการขาดการลงทุนในสนามว่า “แอนฟิลด์จะเป็นสนามที่ทันสมัยกว่าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และโอลด์ แทร็ฟฟอร์ดในอีก 12 เดือน ซึ่งเป็นเรื่องที่ให้อภัยไม่ได้”
“แมนเชสเตอร์ ซิตี้ นำหน้าอยู่หลายปีทั้งในและนอกสนาม ท็อตแน่ม ได้ลงทุน 1.3 พันล้านปอนด์ในสนามกีฬาใหม่ระดับโลก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดในโลก”
“และถ้าคุณไปที่สนามซ้อมของพวกเขา มันเป็นสถานที่ที่น่าทึ่งและยอดเยี่ยม ซึ่งดีกว่าแคร์ริงตันที่เราย้ายไปในปี 2000 มาก ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ไม่ได้ลงทุนเรื่องสนาม และพวกเขาก็ไม่ได้ลงทุนเรื่องสนามซ้อมมากขนาดนั้น ซึ่งเป็นจุดที่สโมสรที่ต้องพยายามขึ้นจริงๆ”