กลายเป็นข่าวเศร้ารับปีใหม่ของวงการฟุตบอลเมื่อ จานลูก้า วิอัลลี่ อดีตศูนย์หน้า ทีมชาติอิตาลี, เชลซี และ ยูเวนตุส เสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม รวมอายุ 58 ปี หลังต่อสู้โรคมะเร็งมายาวนาน
ข่าวคราวการเสียชีวิตของ วิอัลลี่ เกิดขึ้นหลังป่วยเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน สุขภาพทรุดโทรมลงราว 1 สัปดาห์ ก่อนถึงเทศกาลคริสต์มาส และครอบครัวคอยเฝ้าไข้อย่างใกล้ชิด ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่กรุงลอนดอน
และการกำเริบครั้งที่ 2 เมื่อปี 2021 หลังหายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อเดือนเมษายน 2020 และต่อสู้โรคภัยไข้เจ็บอย่างทรหด 17 เดือน ก่อนลาโลกไปอย่างไม่มีวันกลับเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา
ถึงตัวจะจากไป แต่อดีตกองหน้าชาวอิตาเลี่ยน ได้มีส่วนในการปฏิวัติฟุตบอลแดนผู้ดีอย่างมากในช่วงปลายยุค 90 ที่เขาย้ายมาค้าแข้งกับ ‘สิงห์บลูส์’ รวมไปถึงในฐานะผู้เล่นพ่วงตำแหน่งผู้จัดการทีมอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ UFA ARENA จะพาไปพบกับเรื่องราวของ จานลูก้า วิอัลลี่ ว่าทำไมตำนานแข้งอิตาเลี่ยน ถึงกลายเป็นตำนานใน สแตมฟอร์ด บริดจ์ ที่แฟนบอล สิงห์บลูส์ หรือในอังกฤษ จะไม่มีทางลืมแน่นอน
ผู้อยู่เบื้องหลังอิตาลีชุดแชมป์ยูโร
1 ชั่วโมงก่อนที่ อิตาลี จะลงเล่นนัดชิงชนะเลิศในศึกชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร กับอังกฤษ จานลูก้า วิอัลลี่ ยืนอยู่กลางสนาม เวมบลี่ย์ สนามที่เขาเคยมายืนอยู่หลายครั้งสมัยเป็นนักเตะอาชีพ
และกว่าจะมีมาถึงจุดนี้ได้ นี่ถือเป็นการเดินทางที่เหลือเชื่อของตำนานแข้งชาวอิตาเลี่ยนอีกด้วย
วิอัลลี่ มีประวัติกับสนามแห่งนี้ สมัยยังเป็นสนามเก่า เมื่อเขาพบกับความพ่ายแพ้ให้ บาร์เซโลน่า ในศึก ยูโรเปี้ยน คัพ ปี 1992 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ช่วงที่ค้าแข้งกับ ซามพ์โดเรีย ก่อนกลับมาคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ 2 สมัย, ลีก คัพ และ แชร์ชิตี้ ชิลด์ ช่วงที่อยู่กับ เชลซี ซึ่ง 2 ทศวรรษต่อมาเขาก็กลับมาสนามแห่งนี้อีกครั้ง
บ้านของเขาอยู่ในลอนดอน ซึ่งอาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงค้าแข้งกับ ‘สิงห์บลูส์’ แล้ว ซึ่ง วิอัลลี่ กลับมาที่เวมลี่ย์ อีกครั้ง เนื่องจากเขามีส่วนสำคัญในการช่วยเพื่อนเก่าและชาติบ้านเกิดสร้างประวัติศาสตร์ในสนามแห่งนี้
โรแบร์โต้ มันชินี่ กุนซือทีมชาติอิตาลี คือคนที่ วิอัลลี่ ยกให้เป็นฮีโร่ของเขาตั้งแต่อายุ 14 ยกให้เป็นพี่ชาย และคู่ขาที่รู้ใจในแดนหน้าสมัยเล่นกับ ‘ลาซามพ์’ ชุดที่พ่ายให้ บาร์ซ่า ในบอลยุโรป เมื่อ 29 ปีก่อน และเขาก็ได้รับเชิญจาก มันโช่ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสต๊าฟของทัพ อัซซูรี่ เพื่อช่วยนำ, สั่งสอน และสร้างแรงบันดาลใจให้รุ่นน้องในทีม
จานลูก้า วิอัลลี่ ตอบรับคำเชิญนั้น และเป็นโอกาสเริ่มต้นบทใหม่ในชีวิตของเขาอีกด้วย หลังเมื่อปี 2018 เขาต่อสู้กับโรคมะเร็งตับอ่อน แต่หลังจากเข้าสู่ปี 2021 เขาก็หายเป็นปลิดทิ้งจนพร้อมกลับมารับงานในวงการลูกหนังอีกครั้ง
หลังการดวลจุดโทษที่แสนอึดอัด ในที่สุด อิตาลี ก็เป็นฝ่ายที่ยิงได้เด็ดขาดกว่า เอาชนะไปได้ ผู้เล่นและทีมสต๊าฟของ อัซซูรี่ ฉลองอย่างสุดเหวี่ยง เช่นเดียวกับตัวของ วิอัลลี่ ที่ก่อนหน้านี้เบี่ยงหน้าหนีทนดูจุดโทษไม่ไหว ก็สวมกอดกับ มันชินี่ อย่างแนบเแน่น
นี่เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ในเวมบลีย์ในชีวิตของ วิอัลลี่ รวมไปถึงเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จอันรุ่งโรจน์ในอาชีพการงานของเขาด้วย แต่ก็ไม่มีใครคิดเช่นกันว่ามันจะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายของเขาในวงการฟุตบอล
เส้นทางก่อนมาลอนดอน
5 เดือนต่อมาหลังจากชัยชนะที่ เวมบลี่ย์ จานลูก้า วิอัลลี่ ได้ประกาศว่าโรคมะเร็งกลับมาหาเขาอีกครั้ง ทำให้ช่วงเดือนธันวาคม เขาต้องถอนตัวจากทีมชาติในช่วงเดือนธันวาคมเพื่อโฟกัสในการต่อสู่กับโรคร้ายอีกครั้ง ซึ่งสุดท้ายก็จบลงอย่างน่าเศร้า เมื่อลาโลกไปในวันที่ 6 มกราคมปี 2023 ด้วยวัย 58 ปี
การที่ วิอัลลี่ เสียชีวิตในลอนดอนตะวันตก 22 ปีหลังจากที่เขาถูกไล่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมเชลซี ตอกย้ำความสัมพันธ์อันยาวนานและความรักที่เขามีต่อสโมสร,แฟนบอล และชุมชน สำหรับกองเชียร์เชลซีนั้นมีความรู้สึกร่วมกัน เขาเป็นที่รักๆของแฟนๆใน สแตมฟอร์ด บริดจ์ ชื่อของเขาร้องตามทำนองของเพลง ‘Amore’
แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก, แชมป์เซเรียอา, แชมป์ยูฟ่า คัพ, แชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ, แชมป์โคปปา อิตาเลีย หรือการกลายเป็นนักเตะค่าตัวแพงที่สุดในโลกในช่วงหนึ่ง คือสิ่งที่ วิอัลลี่ เคยทำมาหมดแล้วก่อนย้ายมา เชลซี ในช่วงซัมเมอร์ปี 1996
วิอัลลี่ เริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอลกับ เครโมเนเซ สโมสรท้องถิ่น ช่วยทีมเลื่อนชั้นสู่ เซเรีย บี (ดิวิชัน 2) แล้วถูก ซามพ์โดเรีย ดึงไปจับคู่แดนหน้ากับ มันชินี กระทั่งได้รับสมญา “The Goal Twins (คู่หูจอมถล่มประตู)” คว้าแชมป์ กัลโช เซเรีย อา ฤดูกาล 1990-91
โดยครองดาวซัลโวสูงสุดของลีกซีซันดังกล่าว 19 ประตู และถือกำเนิดยุคทอง “ลา ซามพ์” คว้าแชมป์ โคปปา อิตาเลีย 3 สมัย
จากนั้น ยูเวนตุส เซ็นสัญญาคว้า วิอัลลี่ ร่วมทีมค่าตัวสถิติโลก ณ เวลานั้น 12.5 ล้านปอนด์ เมื่อปี 1992 พร้อมประสบความสำเร็จมากมาย โดยหนึ่งในนั้นคือการคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก ลบล้างแผลใจที่พ่ายให้กับ บาร์ซ่า ที่เวมบลี่ย์ ได้สำเร็จ
ส่วนในทีมชาติ วิอัลลี่ เขาลงเล่นให้ทีมชาติถึง 3 ทัวร์นาเม้นต์เมเจอร์ พร้อมติดทีมชาติยอดเยี่ยมของรายการในศึกยูโร 1988
สู่ตำนาน ‘สิงห์บลูส์’
และถึงกระนั้นก็ถึงเวลาของ จานลูก้า วิอัลลี่ กับ เชลซี กลายเป็นสิ่งที่โผล่ขึ้นมาในใจเป็นอันดับแรกของแฟนบอลอังกฤษหลังจากการจากไปของเขา
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวัฒนธรรมที่มองจากสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศ แต่ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงบทบาทการปฏิวัติของกองหน้าชาวอิตาเลี่ยน ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฟุตบอลอังกฤษในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1990
การหลั่งไหลของผู้เล่นต่างชาติเข้ามารวมตัวกันในช่วงเวลานั้น ผู้เล่น 122 คนจากนอกสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ย้ายมาเล่นในลีกระหว่างฤดูกาล 1996-97 เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งเท่าจาก 3 ในปีที่แล้ว
วิอัลลี่ เป็น 1 ใน 7 แข้งชาวอิตาเลี่ยนในลีกตอนนั้น ทั้งๆที่ฤดูกาลก่อนหน้านี้มีแข้งเลี่ยนเพียง 1 คนเท่านั้น และด้วยสไตล์การเล่นที่น่าตื่นเต้น บุคลิกที่มีเสน่ห์ และรูปลักษณ์ที่โดดเด่น ด้วยหัวที่โกนแล้วและแถบคาดศีรษะของเชลซี ทำให้เขากลายเป็นที่จดจำของแฟนๆได้ทันที
ช่วงที่มีปัญหากับ รุด กุลลิต ที่ควบตำแหน่งผู้เล่นและกุนซือเชลซี ก็ถูกพูดถึงเช่นกัน หลังกุนซือดัตช์แมน ว่า วิอัลลี่ เป็นสิงห์นักสูบตัวยง จนกลายเป็นตัวสำรองในนัดชิงเอฟเอ คัพ ปี 1997 ที่เอาชนะ มิดเดิ้ลสโบรห์ แม้ว่าเขาเป็นคนเหมา 2 ประตูในเกมดวลกับ ลิเวอร์พูล รอบ 4 ก็ตาม
ทว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ วิอัลลี่ มีปัญหากับโค้ชเช่นกัน เพราะในทีมชาติ เส้นทางของเขาก็ยุติลงตั้งแต่ปี 1992 หลังมีข่าวลือว่าเขาแกล้ง อาร์ริโก้ ซาคคี่ นายใหญ่ของทีมจนไม่ถูกเรียกติดทัพ อัซซูรี่ อีกเลยหลังจากนั้น
แต่บุคลิกที่โดดเด่นของเขาคือส่วนหนึ่งของเสน่ห์ของเขา และ วิอัลลี่ ก็เป็นหัวเราะที่หลังดังกว่าใน เชลซี หลัง กุลลิต ถูกปลดพ้นตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1998 ก่อนที่เขาจะรับช่วงต่อ พร้อมพาทีมคว้าแชมป์ลีกคัพ และ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพส์ ในช่วงเวลาหลังจากนั้นไม่กี่เดือน
การเป็นยอดดาวยิง, กุนซือผู้คว้าแชมป์ และชาวอิตาเลี่ยนผู้มีสไตล์โดดเด่น ไม่แปลกที่แฟน สิงห์บลูส์ จะรักเขาอย่างสุดหัวใจ เช่นเดียวกับ จานฟรังโก้ โซล่า และ โรแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ 2 แข้งอิตาเลี่ยนที่ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ในสโมสร
ต่อยอดงานกุนซือ
วิอัลลี่ เป็นนักเตะที่โดดเด่นตั้งแต่สมัยเป็นดาวรุ่งแล้ว หลังสร้างชื่อในทีมชาติอิตาลีชุด U-21 และจากนั้นก็ยิงประตูได้ใน เซเรียอา ตั้งแต่อายุ 20 ปี ซึ่งเขาก็แสดงให้เห็นว่าเป็นคนเรียนรู้ได้ไว ทั้งการเป็นนักเตะ รวมถึงการเป็นเฮดโค้ชเช่นกัน
ด้วยวัย 33 ปี วิอัลลี่ คว้าแชมป์เมเจอร์มาครอง 2 รายการแล้วในฐานะกุนซือ พร้อมทำสถิติของยูฟ่า เป็นกุนซืออายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์รายการดังกล่าว และชื่อเสียงของเขาก็เพิ่มมากขึ้นอีกในฤดูกาล 1998-99
ฤดูกาลนั้น กุนซือชาวอิตาเลี่ยน พาเชลซี คว้าแชมป์ ซูเปอร์คัพ เหนือ เรอัล มาดริด เจ้าของแชมป์ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก และพาทีมจบอันดับ 3 ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดของทีมนับตั้งแต่ปี 1970 เลย
แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นกุนซือชาวอิตาเลี่ยนคนแรกในพรีเมียร์ลีก แต่ความทะเยอทะยานของ วิอัลลี่ ยังมีมากกว่านั้น พวกเขาพูดกระตุ้นทีมถึงการเป็นแชมป์ หลังรั้งอันดับ 1 ในช่วงคริสต์มาส ก่อนท้ายที่สุดพวกเขาจะจบลงด้วยการตามหลัง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แชมป์ลีก 4 แต้ม
ความทะเยอทะยานของ วิอัลลี่ ที่สแตมฟอร์ด บริดจ์ส่งผลต่อการงานของเขาในเวลาต่อมาเช่นกัน แต่การผ่านเข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีกครั้งแรกของสโมสรคือรางวัลสำหรับผลงานที่ดีของเขาในช่วงฤดูกาลแรกแบบเต็มตัวที่เขาคุมทีม
จดจำตลอดไป
การเปลี่ยนโฟกัสไปที่การเป็นโค้ชของ จานลูก้า วิอัลลี่ ทำให้เขาต้องแขวนสตั๊ดในเดือนพฤษภาคม 1999 ด้วยวัย 35 ปี แต่ 10 ประตูจาก 20 นัดรวมถึงประตูในเกมพบดาร์บีที่สแตมฟอร์ด บริดจ์ในวันสุดท้ายของฤดูกาล เป็นตัวอย่างที่เหมาะสมของคุณภาพที่ยั่งยืนของเขา นั่นคือประตูที่ 40 ในเกมที่ 83 กับเชลซี ซึ่งดูเด็ดขาดไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 35 เปอร์เซ็นต์ของประตูเหล่านั้นเกิดขึ้นตอนที่เขาคุมทีมเช่นกัน
เมื่อเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ตำนานของเขาในลอนดอนตะวันตกก็ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นด้วยชัยชนะนัดแรกในแชมเปียนส์ลีกรอบก่อนรองชนะเลิศนัดแรกเหนือบาร์เซโลน่า และจากนั้นก็ตามด้วยชัยชนะนัดชิงเอฟเอ คัพกับแอสตัน วิลล่า
ในเดือนสิงหาคมปี 2000 วิอัลลี่ พาทีมคว้าแชมป์ แชร์ริตี้ ชิลด์ และกลายเป็นเกมสโมสรนัดสุดท้ายที่ลงเตะใน เวมบลี่ย์เก่า สถานที่นั้นเชื่อมโยงกับอาชีพของ วิอัลลี่ อย่างแยกไม่ออก และเป็นถ้วยรางวัลที่ 5 และถ้วยสุดท้ายในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ประสบความสำเร็จในงานกุนซือ
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาของ วิอัลลี่ ในฐานกุนซือก็จบลงช่วงต้นซีซั่น 2000-01 หลังออกสตาร์ทด้วยผลงานย่ำแย่ จนถูกปลดจากตำแหน่งในที่สุด และแม้หลังจากนั้นจะได้งานคุม วัตฟอร์ด แต่ก็ไม่สามารถสร้างความมหัศจรรย์ได้เหมือตอนคุมทีมในลอนดอน จนสุดท้ายก็ลางานโค้ช ผันตัวไปทำงานในด้านสื่อกับธุรกิจแทน ก่อนถูก มันโช่ เรียกตัวกลับมาในปี 2019
ความเจ็บป่วยของ วิอัลลี่ ทำให้เขามีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับชีวิต เขาเรียกมะเร็งว่า “เพื่อนร่วมเดินทางที่ไม่ต้องการ” ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์อิตาลี RAI 1
“มันขึ้นรถไฟไปกับผมและผมต้องเดินทางโดยก้มหน้าไม่ยอมแพ้ หวังว่าสักวันหนึ่งแขกที่ไม่ต้องการนี้จะเหนื่อยแล้วก็จากไปอย่างสงบหลายปีเพราะชีวิตนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่อยากทำ”
บางทีตอนที่อดีตดาวเตะชาวอิตาเลี่ยน ยืนอยู่กลางสนามเวมบลีย์ เขารู้สึกซาบซึ้งใจ หลังจากผ่านช่วงเวลาขึ้นและลงทั้งหมดที่เขาประสบพบเจอยามใช้ชีวิตในลอนดอน โอกาสที่เขาได้รับพร้อมกับการทุเลาจากอาการป่วย เพื่อช่วยอิตาลีไปสู่ แชมป์ยุโรปครั้งแรกตั้งแต่ปี 1968 ร่วมกับมันชินี่เพื่อนรักของเขา พร้อมหวังว่าหลายคนจะรับรู้กับวิธีการรับมือกับโรคมะเร็งด้วย
“ผมรู้ว่าผู้คนสามารถมองมาที่ผม เห็นว่าผมทำได้ดี และหวังว่าพวกเขาจะทำเช่นเดียวกัน อาจเป็นเพราะผมเป็นนักฟุตบอลและเป็นคนที่แข็งแกร่ง แต่ก็อ่อนแอและเปราะบางในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผมคิดว่าบางคนอาจจำตัวเองในเรื่องนี้ได้”
“ผมอยู่ที่นี่พร้อมกับความผิดทั้งหมดของผมและความกลัวมากมายที่ผมมี แต่ก็มีความปรารถนาที่จะทำบางสิ่งที่สำคัญด้วย”
ในฐานะผู้เล่นและผู้เล่น-ผู้จัดการทีม จานลูก้า วิอัลลี่ เป็นทั้งไอคอน, เป็นผู้เล่นชั้นนำที่ช่วยปฏิวัติวงการฟุตบอลอังกฤษ แต่ด้วยบุคลิกที่ยิ่งใหญ่และการต่อสู้กับโรคมะเร็งอย่างสง่างามทำให้เขากลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั้งในและนอกสนามด้วยเช่นกัน